Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่บล็อกของ อาริสา จันทร์เสละ รายวิชาประวัติศาตร์ ส 22101 คุณครูผู้สอน คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม




ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2157 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
4.5 stars ( 4.5 / 9 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 523 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

ข่าว

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา

ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา

  • ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
  • ภูมิปัญญา  หมายถึง  ความรู้  ทักษะ  ความเชื่อ  และพฤติกรรมของคนไทย  โดยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน  คนกับธรรมชาติ  การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของบุคคล  ชุมชนและสังคม  ตลอดจนพื้นฐานความรู้เรื่องต่าง  ๆ  ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง 
  • ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย

ภูมิปัญญาด้านศาสนาและความเชื่อ


  • พระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูมีบทบาทต่อการวางรากฐานระบบการเมืองบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นคติความเชื่อนี้ได้หล่อหลอมสังคมอยุธยาให้เป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดจากความเหมาะสม ทางสภาพภูมิศาสตร์และความรู้ที่สะสมมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษทำให้อยุธยาเป็นแหล่งเพาะปลูก 
  • โดยเฉพาะการปลูกข้าวซึ่งการปลูกข้าวถือเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของคนอยุธยาที่รู้จักคัดเลือก พันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศที่น้ำท่วมถึง คือข้าวพันธุ์พิเศษนอกจากนี้ชาวอยุธยารู้จักปลูกต้นไม้ผลไม้ในบริเวณที่เป็นคันดินธรรมชาติ (Natural Levee) ที่ขนานไปกับแม่น้ำลำคลองผลไม้เหล่านี้ได้รับปุ๋ยธรรมชาติทำให้มีรสชาติอร่อย พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกอยู่ในสังคมอยุธยา
  • ผู้มีความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาย่อมเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ทำให้พ้นทุกข์เนื่องจากมนุษย์ต้องเวียนว่าย ตายเกิดอันเกิดจากกฎ แห่งกรรมและเรื่องนรก สวรรค์ นอกจากนี้ยังเชื่อในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่ว่าทุกสิ่งคืออนิจจังภูมิปัญญา
  • จากความเชื่อนี้ทำให้ชาวอยุธยาสามารถ เผชิญกับปัญหาความทุกข์ยากต่างๆในชีวิตได้ด้วยความอดทน นอกจากนี้การที่สังคมอยุธยาเป็นสังคมนานาชาติที่มีคนต่างชาติต่างศาสนาเข้ามาตั้งถิ่นฐาน โดยพระมหากษัตริย์อยุธยาทรงอนุญาตให้ปฏิบัติพิธีกรรมและเผยแผ่ศาสนาได้โดยเสรี ความเป็นสังคมนานาชาติเกิดจากความเข้าใจและเห็นคุณค่าขันติธรรมในเรื่องศาสนาภูมิปัญญาด้านศาสนาทำให้คนอยุธยาหลักในการดำเนิน   ชีวิตเพื่อความสุขขิงตนเองและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม 
  • ภูมิปัญญาในสมัยอยุธยาสามารถประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน คือ การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการนำเทคโนโลยีบางอย่างที่เหมาะสมมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและความอดทนเข้าใจผู้อื่นที่มีเชื้อชาติ ศาสนาหรือมีความคิดแตกต่างกับตนเอง โดยมุ่งทำให้สังคมมีความสงบสุข
 ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพ


  • อยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความรุ่งเรือง เศรษฐกิจของอยุธยามีทั้งที่ทำการเกษตรและการค้าภายใน ต่อมาจึงพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการค้ากับนานาชาติ ภูมิปัญญาในด้านเกษตรกรรมชาวสวนผลไม้อยุธยา ได้ปรับปรุงพันธุ์ผลไม้จนทำให้ผลไม้ที่มีชื่อเสียง 
  • ในปัจจุบันด้วยภูมิปัญญา ดังนี้อยุธยาจึงมีปริมาณอาหาร พอเพียงกับความต้องการ ของพลเมือง ทำให้สามารถพึ่งตนเองได้ เพราะอาหารหลัก คือ ข้าวสามารถปลูกเองได้ สำหรับพืชผักและกุ้ง หอย ปู ปลา หาได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป
  • สภาพภูมิประเทศของอยุธยามีคูคลองเป็นจำนวนมาก ชาวอยุธยาใช้ประโยชน์จากคูคลองที่ปรียบเสมือนเป็นถนนให้เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นได้มีการคมนาคมการขุดคลองลัด เพื่อย่นระยะทางจากปากแม่น้ำ เช่น คลองลัดบางกอกใหญ่ เพื่อความสะดวกในการคมนาคมขนส่งตั้งแต่ยุคกลาง เป็นต้นมา อยุธยาส่งข้าวเป็นสินค้าหลักไปขายยังต่างแดนเช่น ที่เมืองจีน 
  • นอกจากนี้ความเหมาะสมของที่ตั้งอยุธยาไม่ห่างจากทะเลมากนักและมีสินค้าหลากหลายชนิด ทำให้พ่อค้าต่างชาติเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาทำให้อยุธยากลายเป็นเมืองท่านานาชาติโดยเฉพาะในพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ พระมหากษัตริย์อยุธยา
  • โปรดคัดสรรชาวต่างชาติให้เข้ารับราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานทางทหารและการค้าในด้านการค้าชาวต่างชาติ เหล่านี้มีความชำนาญทั้งด้านการค้าและการเดินเรือ มีความรู้ด้านภาษาและเข้าใจวัฒนธรรมของชาติที่อยุธยาติดต่อค้าขายด้วยการรับชาวต่างชาติเข้ารับราชการ แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวอยุธยาที่รู้จักเลือก ใช้คนที่มีความชำนาญให้เป็นผู้รับผิดชอบงานต่างๆอยุธยาจึงสามารถขนส่งสินค้าบรรทุกสำเภาไปขายยังเมืองท่าดินแดนต่างๆได้โดยสะดวก
  • สำเภาอยุธยายังแสดงให้เห็นภูมิปัญญาไทย กล่าวคือพระมหากษัตริย์โปรดให้ต่อสำเภาโดยช่างชาวจีน เป็นเรือสำเภาประเภท ๒ เสา คล้ายกับสำเภาจีนซึ่งแล่นอยู่ตามทะเลจีนใต้ ใบเรือทั้งสองทำด้วยไม้ไผ่สานซึ่งหาได้ง่ายและมีน้ำหนักเบา ส่วนใบเรือด้านบนสุดและด้านหัวเรือใช้ผ้าฝ้ายซึ่งเป็นวัดุที่ชาวอยุธยาทอใช้ในครัวเรือนแต่วิธีการเป็นวิธีแบบชาวตะวันตกที่ช่วยให้สำเภาเร็วขึ้นสำหรับหางเสือของสำเภาเป็นไม้เนื้อแข็งคล้ายกับสำเภาจีน (ชนิดที่เดินทางไกล) แต่ทว่าหางเสือของสำเภาอยุธยา ได้เจาะรูขนาดใหญ่ไว้ ๓ รู แล้วสอดเหล็กกล้า ยึดติดกับลำเรือทำให้บังคับเรือได้ดีและมีความคงทน
  • นอกจากนี้บริเวณกาบเรือใช้น้ำมันทาไม้และใช้ยางไม้หรือสีทา ในส่วนของเรือที่จมน้ำโดยผสมปูนขาวเพื่อป้องกันเนื้อไม้และตัวเพลี้ยเกาะซึ่งทำให้เรือผุ สำเภาอยุธยานับเป็นภูมิปัญญาของคนอยุธยาที่ใช้เทคโนโลยีผสมกันระหว่างสำเภาจีนกับเรือแกลิออทของ ฮอลันดาเพื่อให้เรือวิ่งได้เร็วและทนทาน ภูมิปัญญาของชาวอยุธยาในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจ ของอยุธยามั่งคั่งรุ่งเรือง


ภูมิปัญญาด้านการตั้งถิ่นฐาน


  • การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยอดีตมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางภูมิศาสตร์ กล่าวคือ ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งอาหารและในที่ซึ่งมีความปลอดภัยสำหรับอยุธยาตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มดินดอน สามเหลี่ยมเจ้าพระยาตอนล่างสภาพโดยทั่วไปของพื้นที่อุดมสมบูรณ์ สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับความต้องการ ของชุมชน ขณะเดียวกันที่ตั้งของอยุธยายังตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยาลพบุรี ป่าสักไหลมาบรรจบกัน ทำให้ปลอดภัยและสามารถใช้แม่น้ำลำคลองเหล่านี้เป็นเส้นทางคม นาคมติดต่อค้าขายและเข้าถึงแหล่งทรัพยากร ที่มีอยู่มากมายในหัวเมืองอื่นๆทางหัวเมืองเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือตลอดจนอาณาจักรที่อยู่ลึกเข้าไปเช่นอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง และพุกามได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ที่ตั้งของอยุธยาอยู่ห่างจากปากน้ำเจ้าพระยาประมาณ ๒๐๐  กิโลเมตรใช้เวลาประมาณ ๓ วัน  เพื่อล่องเรือจากราชธานีไปจนถึงปากน้ำ ดังนั้นเมื่อข้าศึกยกทัพมาทะเลจึงมีเวลาเตรียมพร้อม
  • สำหรับการป้องกันเมืองการที่อยุธยา ที่มีที่ตั้งซึ่งมีสภาพแวดล้อมเช่นนี้ทำให้อยุธยามีความปลอดภัยและมีอาหารอุดมสมบูรณ์
  • อย่างไรก็ตามสภาพภูมิประเทศของอยุธยา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก จะมีน้ำท่วมขังกินเวลานานทำให้เป็นอุปสรรคต่อการตั้งถิ่นฐานแต่ชาวอยุธยาและผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ปัญหาโดยการ 
  • ปลูกเรือนใต้ถุนสูงพ้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม เมื่อน้ำ ลดพื้นดินแห้งดีแล้วสามารถใช้ประโยชนจากบริเวณใต้ถุนเรือนซึ่งเป็นที่โล่งทำกิจกรรมภายในครัวเรือน เช่น จักสาน ทอผ้า เลี้ยงลูก หรือใช้สำหรับเก็บอุปกรณ์จับปลาและเครื่องมือมาทำนา  


 บ้านเรือนของชาวอยุธยามี ๒  ลักษณะคือ


  • ๑.เรือนชั่วคราวหรือเรือนเครื่องผูก  เป็นเรือนของชาวบ้านโดยทั่วไปสร้างด้วยไม้ไผ่หรือใบจากซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและสามารถรวบรวมกำลังคนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านปลูกเรือนได้ไม่ยาก
  • ๒.เรือนถาวรหรือเรือนเครื่องสับ  เป็นเรือนของผู้มีฐานะ เช่น ขุนนางหรือเจ้านาย ซึ่งเป็นเรือนที่สร้างอย่างประณีตด้วยไม้เนื้อแข็งหนาแน่นและทนทานไม้เหล่านี้ได้จากป่าในหัวเมืองเหนือที่ใช้วิธีล่องลงมาตามลำน้ำเจ้าพระยานอกจากเรือนยกพื้นสูงแล้วชาวอยุธยายังอาศัยอยู่ในเรือนอีกประเภทหนึ่งที่ไม่มีเสา พื้นเรือนติดน้ำแต่ลอยได้ คือเรือนแพ ที่สะดวกสำหรับการ เคลื่อนย้าย เรือนแพนี้ยังทำหน้าที่เป็นร้านค้าด้วยดังนั้นที่กรุงศรีอยุธยาจึงมีเรือนแพตั้งเรียงรายตามแม่น้ำ ลำคลอง ชาวอยุธยานอกจากจะปรับตนให้เข้ากับภูมิประเทศที่ประกอบด้วยแม่น้ำลำคลองแล้วยังใช้ภูมิปัญญาดัดแปลงแม่น้ำลำคลอง เพื่อใช้ป้องกันข้าศึกได้ด้วยตัวอย่างเช่น ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่า จึงมีการเตรียมการโดยขยายขุดลอกคลองคูขื่อหน้าเพื่อให้อยู่ในสภาพที่รับศึกได้หรือการที่มหานาควัดท่าทราย ระดมชาวบ้านขุดคลองมหานาคเป็นคูป้องกัน พระนครชั้นนอกอีกชั้นหนึ่งเมื่อ พ.ศ.๒๐๘๖ เพื่อป้องกันศึกพม่า 
  • นอกจากที่กล่าวมาแล้ว สภาพภูมิประเทศที่เป็นมาน้ำลำคลองจำนวนมาก ทำให้ชาวอยุธยามีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการใช้เรือในการ คมนาคมเรือสำหรับชาวบ้านเป็นเรือที่ต่ออย่างง่ายๆ เช่นเรือขุดและเรือแจว  แต่คนในสมัยอยุธยามีภูมิปัญญาในการขุดเรือยาว  ที่พระมหากษัตริย์อยุธยาใช้เป็นเรือรบในการขนกำลังคนไปได้เป็นจำนวนมาก พระมหากษัตริย์เสด็จพยุหยาตราเพื่อเสด็จไปทำสงครามและไดพัฒนาเป็นกองทัพเรือ ในเวลาที่บ้านเมืองเป็นปกติพระมหากษัตริย์ทรงใช้เรือเหล่านี้เสด็จพระราชดำเนินในพิธีต่างๆ เช่นพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน โดยจัดขบวนเรือรบซึ่งเท่ากับเป็นการซ้อมรบโดยปริยาย

ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์

22-ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง(รัชกาลที่ 4-7)

22-ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง(รัชกาลที่ 4-7)

ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยสภาพเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยรัชกาลที่ 4 นั้น    พระราชกรณียกิจทางการบริหารประเทศอันดับแรกที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงกระทำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ คือ การลดภาษีสินค้าขาเข้า การอนุญาตให้ส่งข้าวเป็นสินค้าออกได้ และการค้าฝิ่นโดยผ่านระบบเจ้าภาษี การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ หลังทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว ระบบเศรษฐกิจของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบยังชีพไปสู่เศรษฐกิจแบบเงินตรากับนานาประเทศ การค้าขายขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางโดยใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน                                  สาระสำคัญของสัญญาเบาว์ริงทางเศรษฐกิจ 1. คนในบังคับอังกฤษหรือชาติต่างๆ ทำการค้าได้โดยเสรี 2.ยกเลิกภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ โดยให้เก็บภาษีขาเข้าร้อยละ 3 แทน อนุญาตให้    นำฝิ่นเข้ามาโดยไม่ต้องเสียภาษี แต่จะต้องขายให้กับผู้ผูกขาดการค้าฝิ่นในเมืองไทยเท่านั้น 3.ไทยอนุญาตให้ส่งข้าวเป็นสินค้าออกได้ ยกเว้นในปีที่ทำนาไม่ได้ผล 4.สินค้าออกให้เก็บเป็นภาษี " ขาออกอย่างเดียว 5.ให้ไทยตั้งโรงภาษีหรือศุลกากร เพื่อทำการตรวจสินค้าต่างๆ ที่นำขึ้นมาจากเรือ และลงเรือเพื่อเก็บภาษีขาเข้าหรือขาออกแล้วแต่กรณีสนธิสัญญาเบาว์ริงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจของไทยอยู่หลายประการ คือ 1.การเปลี่ยนแปลงระบบการค้า ไทยยกเลิกวิธีการค้าแบบพระคลังสินค้าให้มีการค้าอย่างเสรี 2.การเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ การผลิตหลังจากที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ    ระบบเศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเอง เป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า 3.การเปลี่ยนแปลงด้านภาษีอากร ไทยต้องยกเลิกการค้าแบบผูกขาด 4.การขยายตัวทางเศรษฐกิจอื่นๆ มีบริษัทและร้านค้าที่ชาวต่างชาติขอเปิดขึ้น     มากมายในกรุงเทพฯ เช่น บริษัท บอร์เนียว จำกัด  บริษัท เรมีเดอมองตินยี จำกัด  หรือโรงแรมสมัยใหม่     เช่น โฮเตลฟอลด์ เป็นต้น 5.การพัฒนาประเทศเพื่อรองรับความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่      5.1 การตัดถนน ถนนสายแรกคือ ถนนเจริญกรุง ฝรั่งเรียกว่า นิวโรด (New Road)ต่อมา            ได้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย เช่น ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื้องนคร ถนนพระรามที่ 4  นนสีลม      5.2 การขุดคลอง พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงเกษม เพื่อใช้เป็นแนว            ป้องกันพระนครชั้นนอกและเพื่อสะดวกในการคมนาคม    คลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชา             คลองดำเนินสะดวก เพื่อสะดวกในการคมนาคม  ขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพฯกับหัวเมืองใกล้เคียง การปฏิรูปเงินตราสมัยรัชกาลที่ 4    สมัยรัชกาลที่ 4 ระบบการค้าเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบ เงินตรามีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการขาดแคลนเงินตราในการซื้อขาย       แลกเปลี่ยน เงินตราที่ใช้อยู่ทั่วไปคือ เบี้ย ซึ่งเป็นหอยชนิดหนึ่งได้มาจากหมู่เกาะมาลดีบในมหาสมุทรอินเดีย แต่อัตราแลกเปลี่ยนเบี้ยในท้องตลาดไม่ค่อยจะคงตัว โดยปกติจะอยู่ราว 800 เบี้ย ต่อ 1 เฟื้อง นอกจากนี้ก็มีการใช้เงินพดด้วง เป็นลักษณะก้องกลมมีตราประทับบนตัวด้วง เงินตราทั้ง 2ชนิดไม่เหมาะกับการค้าสมัยใหม่เพราะ เบี้ยแตกง่าย  เงินพดด้วงก็ปลอมได้ง่ายและผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการครั้งเมื่อพ่อค้าต่างชาตินำเงิน     เหรียญสเปน หรือเหรียญเม็กซิโกเข้ามาใช้ ก็ไม่มีใครยอมรับ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อ      การค้าขายมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหานี้ชาวต่างประเทศถึงกับแนะนำให้รัฐบาลไทยเลิกใช้    เงินบาท โดยพ่อค้าเหล่านั้นจะผลิตเงินบาทเข้ามาใช้เอง แต่รัชกาลที่ 4  ไม่ทรงเห็นด้วยเพราะจะเป็นโอกาสให้มีเหรียญปลอมระบาดมากขึ้น การแก้ปัญหาของรัชกาลที่ 4 ในเรื่องนี้ คือมีพระราชดำริที่จะเลิกใช้เงินพดด้วงซึ่ง ทำด้วยมือซึ่งผลิตได้ช้าไม่ทันการมาใช้เงินเหรียญที่ผลิตจากเครื่องจักรแทน โดย            ซื้อเครื่องจักรมาจากต่างประเทศ เริ่มมีการผลิตเงินเหรียญเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2403 และตั้งแต่นั้นมามีการผลิตเงินเหรียญในชนิดและอัตราต่างๆออกมา ในปีพ.ศ.2405 โปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญดีบุกขึ้น2 ชนิด คือ อัฐมีราคา 8 อันต่อ 1 เฟื้อง  และโสฬส  มีราคา 16 อันต่อ 1 เฟื้อง ปีพ.ศ.2406  โปรดเกล้าฯให้มีการผลิตเหรียญทองมีอัตราต่างกันตามลำดับ ดังนี้ คือ ทศราคาอันละ 8 บาท  พิศราคาอันละ 4  บาทและพัดดึงส์ราคาอันละ 10  สลึง ปี พ.ศ.2408 โปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญทองแดง 2 ชนิดคือ  ซีกมีราคา 2 อันต่อ 1 เฟื้อง และเซี่ยว(ปัจจุบันเรียก เสี้ยว) มีราคา 4 อันต่อ 1 เฟื้อง   โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ รัชกาลที่4 โปรดเกล้าฯให้มีประกาศแจ้งให้ราษฎรได้ทราบ และชักชวนให้ราษฎรมาใช้เงินเหรียญชนิดต่างๆที่ผลิตขึ้น นอกจากเงินเหรียญชนิดต่างๆ แล้วรัฐยังได้พิมพ์ธนบัตรที่เป็นกระดาษคล้ายกับ ปัจจุบันด้วยสมัยนั้น เรียกว่า “หมาย”มีราคาตั้งแต่เฟื้อง จนถึง 1 บาท ผู้ที่เป็นเจ้าของหมายจะได้รับเงินก็ต่อเมื่อนำหมายดังกล่าวนั้นไปขึ้นเงินที่พระคลังมหาสมบัติ แต่ราษฎรไม่เห็นประโยชน์จากการใช้กระดาษเป็นเครื่องแลกเปลี่ยน การใช้หมายดังกล่าวจึงไม่แพร่หลาย การตั้งโรงงานกระษาปณ์เพื่อผลิตเหรียญตรา ในปีพ.ศ.2403 ในขั้นแรกเป็นวิธีการ ที่รัฐพยายามที่จะ แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น แต่ผลที่ตามมานอกเหนือจากนั้น         ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเงินตรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและการค้า เพราะการซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยเงินตราในระบบใหม่ที่สะดวกกว่าระบบเก่า ย่อมจะทำให้    การค้าระหว่างประเทศขยายตัว ปริมาณการหมุนเวียนของสินค้ามีมากขึ้นตามไปด้วย การปรับปรุงเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปเศรษฐกิจ ดังนี้ 1.การปฏิรูปด้านการคลัง รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น ในปี พ.ศ.2416 ในพระบรมมหาราชวัง ทำหน้าที่รับผิดชอบรวบรวมเงินภาษีอากร          ทุกชนิดนำส่งพระคลังมหาสมบัติ ทำบัญชีรวบรวมผลประโยชน์ ตรวจตราการเก็บ       ภาษีอากรของหน่วยราชการต่างๆ ให้เรียบร้อยรัดกุม รับผิดชอบการจ่ายเงินเดือนในอัตราที่แน่นอนให้กับข้าราชการฝ่ายพลเรือนและทหาร เฉพาะในส่วนกลางแทนการจ่าย เบี้ยหวัดและเงินปี                                       2. การปฏิรูประบบเงินตรา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงปฏิรูประบบเงินตรา  ดังนี้            2.1การประกาศกำหนดมาตราเงินใหม่ ให้มีเพียง 2 หน่วย คือ บาทกับสตางค์ สตางค์ที่ออกมาใช้  ครั้งแรก มี 4 ขนาด คือ 20 , 10 , 5 และ 2 สตางค์ครึ่ง และประกาศยกเลิกใช้เงินพดด้วง      2.2 การออกธนบัตร ประกาศใช้พระราชบัญญัติธนบัตร จัดตั้งกรมธนบัตรขึ้นเพื่อทำหน้าที่ออก ธนบัตรให้ได้มาตรฐาน ธนบัตรนั้นเดิมประกาศใช้มา   ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 แล้ว      2.3เปรียบเทียบค่าเงินไทยกับมาตรฐานทองคำ ในพ.ศ.2451 ประกาศใช้พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน 13 บาท เท่ากับ 1 ปอนด์ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล 3.การตั้งธนาคาร มีบุคคลคณะหนึ่งร่วมมือก่อตั้งธนาคารของไทยแห่งแรกเรียกว่า บุคคลัภย์ (Book Club) ได้รับพระราชทางพระบรมราชานุญาตจัดตั้งธนาคาร   จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเรียกชื่อว่า แบงค์สยามกัมมาจล   (Siam Commercial Bank) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด 4.การทำงบประมาณแผ่นดิน ในพ.ศ.2439 รัชกาลที่ 5 โปรดให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้การรับจ่ายของแผ่นดินมีความรัดกุม โปรดให้แยกเงินส่วนแผ่นดินและส่วนพระองค์ออกจากกันอย่างเด็ดขาด โดยให้ พระคลังข้างที่ เป็นผู้ดูแลพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 5.การปรับปรุงทางด้านการเกษตรและการชลประทาน มีการขุดคลองเก่าบางแห่งและขุดคลองใหม ่อีกหลายแห่ง เช่น คลองนครเนื่องเขต คลองดำเนินสะดวก คลองประเวศน์บุรีรัมย์ คลองเปรมประชา คลองทวีวัฒนา สร้างประตูระบายน้ำ เพื่อช่วยส่งน้ำให้เข้าถึงพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกได้ ด้านการป่าไม้ โปรดให้ตั้ง  กรมป่าไม้ ส่งเสริมให้ปลูกสวนสัก และส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาป่าไม้  ณ  ต่างประเทศ                                   6.การพัฒนาทาด้านคมนาคม การสื่อสาร ได้มีการสร้างถนนขึ้นหลายสาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราช   ดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนบูรพา      ถนนอุณากรรณ ถนนดินสอ ส่วนสะพานข้ามคลองที่เชื่อมถนนต่างๆ ก็มี สะพานผ่านพิภพลีลา สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สะพานมัฆวานรังสรรค์   สะพานเทวกรรมรังรักษ์ ในด้านการสื่อสาร ได้ทรงตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ.2426  ในพ.ศ.2418 เปิดบริการโทรเลขสายแรกระหว่างกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ ด้านการสร้างทางรถไฟ มีการสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับหัวเมือง        ในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา  ทางรถไฟสายใต้                 ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ  กรุงเทพฯ – พระพุทธบาท           กรุงเทพฯ–มหาชัย–ท่าจีน– แม่กลอง    สายบางพระแบะสายแปดริ้ว ฯลฯ   การปรังปรุงเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจต่อเนื่องมาจากสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1.การสนับสนุนการลงทุนธุรกิจอุตสาหกรรม ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน การลงทุนจัดตั้งบริษัททำปูนซีเมนต์ สนับสนุนกิจการโรงไฟฟ้าสามเสน         ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการจัดตั้งบริษัทพาณิชยนาวีสยาม 2.การส่งเสริมทางด้านการเกษตร เช่น จัดตั้งกรมทดน้ำเพื่อจัดหาน้ำไว้ใช้ใน การเพาะปลูก ส่งเสริมการขุดลอกคูคลอง จัดตั้งสถานีทดลองพันธ์ข้าวที่     คลองหกรังสิต  จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรแห่งแรก  ชื่อ  สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้   ที่อำเภอเมือง   จังหวัดพิษณุโลก 3.การจัดตั้งสถาบันการเงิน ได้มีการตั้งธนาคารออมสินขึ้น เพื่อรับฝากเงินของราษฎรและ มีที่เก็บเงินโดยปลอดภัย และเพื่อประโยชน์ในการหมุนเวียนเงินตรา 4.การเปลี่ยนแปลงมาตราชั่ง ตวง วัด โปรดให้ประกาศใช้มาตราชั่ง ตวง วัด ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันแบบสากลโดยใช้ระบบของฝรั่งเศส 5.การปรับปรุงงานด้านการคมนาคมการขยายงานด้านรถไฟ โปรดให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้น และได้สร้าง - เส้นทางรถไฟสายเหนือถึงเชียงใหม่ สายตะวันออกเฉียงเหนือถึงอุบลราชธานีและขอนแก่น สายตะวันออกถึงอรัญประเทศ และสายใต้ถึง  ปาดังเบซาร์ โดยเปิดสถานีหัวลำโพง สร้างสะพานพระราม 6 เพื่อเชื่อม    ทางรถไฟสายเหนือและสายใต้เข้าด้วยกัน สร้างทางรถไฟสายแรกระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เปิดเดินรถไฟเส้นทางระยะแรกระหว่าง    กรุงเทพฯ-อยุธยา -ด้านวิทยุโทรเลข โปรดให้กระทรวงทหารเรือ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขขึ้นที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพฯ และที่สงขลา -การวางรากฐานการคมนาคมทางอากาศ จัดตั้งกรมอากาศยานขึ้น และมีการบินขั้นทดลองครั้งแรก สร้างสนามบินดอนเมือง 6.การจัดตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์  ขึ้นอยู่กับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ต่อมายกฐานะเป็นกระทรวงพาณิชย์ 7.การยกเลิกหวย ก รัชกาลที่ 6 โปรดให้ประกาศยกเลิก หวย ก.ข. การปรับปรุงเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ เศรษฐกิจตกต่ำในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ.2468       ปัญหาแรกที่ต้องทรงแก้ไขอย่างรีบด่วน คือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จึงมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ คือ ทรงวางระเบียบการใช้จ่ายเงินภายในพระราชสำนักเป็นอันดับแรก      ตัดทอนรายจ่ายฝ่ายราชการลงด้วยการลดจำนวนข้าราชการบริพารในกระทรวงวัง โดยเฉพาะ      ในกรมมหาดเล็ก เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่หน่วยราชการต่างๆ มีการดุลยภาพข้าราชการก่อนกำหนด โดยให้รับเบี้ยหวัดเบี้ยบำนาญแทน ที่มา : ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐและคณะ,หนังสือเรียน ส306 ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์แบบ,           (กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542)           คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,           (กรุงเทพฯ :  อัมรินทร์การพิมพ์,2525)           สุคน  สินธพานนท์ และพรรษมน กิตติสารศักดิ์. สังคมศึกษา ส306. 2542. หน้า 72 

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การล่มสลายของอาณาจักรสุโขทัย

การล่มสลายของอาณาจักรสุโขทัย ความเป็นมา อาณาจักรสุโขทัย หรือ รัฐสุโขทัย (อังกฤษ: Kingdom of Sukhothai) เป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลาย จนกระทั่งสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นรัฐอิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อยๆตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุดจากข้อมูลทำอย่างไรเพื่อจะได้รู้ว่าเพราะเหตุใดถึงอาณาจักรอยุธยาถึงล่มสลายได้ วัตถุประสงค์ พ.ศ. 2127 หลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวง (เมืองพระพิษณุโลกสองแคว เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิจิตร และเมืองพระบาง [2]) ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขทัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ ในด้านวิชาการ มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บนรอยเลื่อนวังเจ้า ในราวพุทธศักราช 2127 แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้แต่แม่น้ำแควน้อย ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ (ปัจจุบันคือแม่น้ำน่าน) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทน ทั้งหมด การที่ศึกษาดังกล่าวเพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้มาไปเผยแพร่ให้แก่ผู้อื่น ขอบเขตศึกษาเกี่ยวกับการล่มสลายของอาณาจักรอยุธยา ระยะเวลา วันที่ 1 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2555 ถึง ภาคเรียนที่ 2/2555 ชื่อ นาย พีรพงษ์ สายดวงแก้ว อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A2 อาณาจักรสุโขทัย พ.ศ. 1792 - 1981 เมื่ออาณาจักรขอมเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในพุทธศตวรรษที่ 17 นั้น อิทธิพลของขอมแผ่ขยายครอบคลุมดินแดนสุวรรณภูมิ อารยธรรมหรือวัฒนธรรมของขอมจึงแทรกซึมไปในหมู่ประชากรของบริเวณนี้อย่างทั่วถึงและผสมตลุกเคล้าเป็นวัฒนธรรมสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นอาณาจักรขอมเสื่อมลงในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 กลุ่มคนไทยหรืออาณาจักรต่างๆ ของคนไทยที่เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอมจึงต่างพยายามตั้งตนเป็นอิสระ การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย ก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย มีเจ้าเมืองปกครองมีพระนามว่า พ่อขุนศรีนาวนำถม เมื่อสิ้นรัชกาลได้มีบุคคลปรากฏตามศิลาจารึกว่า ขอมสบาดโขลญลำพง เข้ามามีอำนาจปกครองเมืองทั้งสอง พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง กับพระสหายคือ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ซึ่งเป็นโอรสพ่อขุนศรีนาวนำถม ได้ชักชวนคนไทยผู้รักชาติบ้านเมืองทั้งหลายให้รวมตัวผนึกกำลังชิงเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยจากขอมสบาดโขลญลำพง ประกาศสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชอาณาจักรอิสระ ประกอบพระราชพิธีอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ปกครองสุโขทัย ทรงพระนามว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” ใน พ.ศ. 1792 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้ทรงปกครองอาณาจักรสุโขทัย เป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์พระร่วงโดยมีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ด้วยความเป็นพระสหายของพ่อขุนทั้งสองและเครือญาติสนิทางการสมรส คือ พระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั้นมีเชื้อพระวงศ์เป็นพระขนิษฐาของพ่อขุนผาเมือง มีพระนามว่า นางเสือง ซึ่งต่อมาได้มีโอรสเสวยราชสมบัติปกครองอาณาจักรสุโขทัยให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาถึง 2 พระองค์ คือ พ่อขุนบานเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย มี 2 ด้าน คือ 1. ปัจจัยภายใน ได้แก่ ๏ มีผู้นำที่เข้มแข็ง ในสมัยนั้นผู้นำคนไทยที่กล้าหาญมีสติปัญญาเฉียบแหลมและรอบคอบ 2 คน ซึ่งเป็นสหายกัน ได้แก่ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด และพ่อขุ บางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้ร่วมกันรวบรวมคนไทย และกำลังเข้าต่อสู้กับขอมจนสามารถขับไล่ขอมไปได้ ๏ มีขวัญและกำลังใจดี การที่คนไทยมีผู้นำที่เข้มแข็งมีความสามารถ ทำให้มีขวัญและกำลังใจดี มีความเชื่อมั่นว่าจะต่อสู้เอาชนะขอมได้ ต่างก็มีความปรารถนาที่ จะขับไล่ขอมออกไป เพื่อจะได้มีความเป็นอิสระและมีเอกราชสมบูรณ์ จึงได้ผนึกกำลังกันต่อสู้และเอาชนะขอมได้สำเร็จ ๏ รับความเป็นอิสระ คนไทยมีนิสัยรักอิสระไม่ชอบให้ผู้ใดกดาขี่ข่มเหงบังคับ ดังนั้นเมื่อพ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมืองได้ร่วมมือกันขับไล่ขอมเพื่อให้ คนไทยได้รับอิสรภาพ จึงได้รับความร่วมมือร่วมใจจากชาวไทยทุกคนด้วยดี จนสามารถาขับไล่ขอมและปลดปล่อยกรุงสุโขทัยเป็นอิสระได้ในที่สุด ๏ บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ เมืองสุโขทัยเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตรมีการเพาะปลุก การเลี้ยงสัตว์ และการจับสัตว์น้ำ ทำให้ผู้คนเข้ามาอาศัย ตั้งบ้านเรือนกันเป็นชุมชนที่ค่อนข้างหนาแน่น เมืองสุโขทัยจึงพร้อมด้วยเสบียงอาหาร และกำลังคน 2. ปัจจัยภายนอก ๏ ขอมมักจะรุกรานและแผ่อำนาจเข้าไปในอาณาจักรอื่นๆ ต้องทำสงครามรบพุ่งเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะกับอาณาจักรจามปา กษัตริย์ขอมต้องทำสงคราม ยึดเยื้อหลายรัชกาล ต้องเสียกำลังคน เสบียงอาหาร ทรัพยากรและขาดการทำนุบำรุงบ้านเมือง ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจประชาชนท้อแท้เบื่อหน่าย ๏ การที่ขอมขยายอาณาเขตออกไปไกล ทำให้ไม่สามารถออกไปไกล ทำให้ไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้อย่างถาวร แม้จะแก้ปัญหา โดยตั้งเมืองใหญ่ให้เป็นศูนย์ อำนาจ เช่น ลพบุรี สุโขทัย แต่การปกครองก็มิได้มีประสิทธิภาพในที่สุดก็ไม่สามารถรักษาอำนาจของคนในดินแดนชาติอื่นที่ตนยึดครองไว้ได้ ๏ การสร้างปราสาทหรือเทวสถานไว้ประดิษฐานศิวลึงค์ เพื่อการบูชาและการสร้างสาธารณูปโภคของกษัตริย์แต่ละพระองค์ ก็เป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้ขอมเสื่อม อำนาจ เพราะต้องใช้แรงงาน ใช้ทรัพยากรและเสบียงอาหารจำนวนมากมาย ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจทำให้ต้องเก็บภาษีจากประชาชนมากขึ้น ประชาชนจึงไม่ร่วมมือกับทางราชการ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ อาณาจักรขอมจึงเสื่อมลง เปิดโอกาสให้คนไทยได้ร่วมกันกำจัดอำนาจอิทธิพลของขอมได้สำเร็จ พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วงปกครองอาณาจักรสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรก และมีพระมหากษัตริย์สืบต่อมารวม 9 พระองค์ ตลอดเวลาเกือบ 200 ปี ดังนี้ รัชกาลที่ พระนาม ปีที่ขึ้นครองราชย์ (พ.ศ.) ปีที่สวรรคต (พ.ศ.) 1 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ 1792 ไม่ปรากฏ 2 พ่อขุนบานเมือง ไม่ปรากฏ 1822 3 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช 1822 1841 4 พระยาเลอไทย 1841 ไม่ปรากฏ 5 พระยางั่วนำถม ไม่ปรากฏ 1890 6 พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) 1890 1911 7 พระมหาธรรมราชาที่ 2 1911 1942 8 พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) 1942 1962 9 พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) 1962 1981 รัชกาลที่ 1 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ตำนานพระพุทธสิหิงค์ กล่าวว่า เป็นชาวเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์นั้น ศิลาจารึกระบุว่ามาจากเมืองบางยาง และเป็นพระสหายกับ พ่อขุนผาเมือง พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ได้แก่ การขยายอาณาเขต ในระยะเริ่มต้นอาณาจักรในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั้น มีอาณาเขตไม่กว้างขวางนัก มีเมืองสุโขทัยกับเมืองศรีสัชนาลัย (เมืองสวรรคโลกเก่า) เป็นราชธานีทั้งสองเมือง นอกจากนี้ก็มีหัวเมืองขึ้นทางริมลำน้ำปิง ยม น่าน เพียงไม่กี่เมือง เมื่ออาณาจักรสุโขทัยได้รับการสถาปนาขึ้นมาเป็นอิสระจากขอมได้นั้น เจ้าเมืองต่างๆ ในดินแดนใกล้เคียงกับสุโขทัยยอมรับในความสามารถของผู้นำสุโขทัย จึงอ่อนน้อมโดยสันติรวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัย แต่เจ้าเมืองบางเมืองคิดว่าตนมีอนาจเข้มแข็งพอ จึ่งมิได้อ่อนน้อมต่อกรุงสุโขทัย และก่อสงครามขึ้นเพื่อแข่งขันการมีอำนาจ ในบรรดาเจ้าเมืองประเภทหลังนี้ ปรากฏว่าขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (เมืองฉอดปัจจุบันเป็นเมืองร้าง อยู่ที่ด่านแม่สอดทางทิศตะวันตกของจังหวัดตาก) ได้ยกทัพมาตีเมืองตากอันเป็นเมืองในอาณาเขตของสุโขทัย พ่อาขุนศรีอินทราทิตย์จึงยกทัพไปปราบ เกิดสงครามครั้งสำคัญขึ้น ในการรบครั้งนี้พระราชโอรสองค์เล็ก ซึ่งมีชันษา 19 ปี ได้เข้าชนช้างกับขุนสามชนจนได้รับชัยชนะ ทำให้กองทัพเมืองฉอดแตกพ่ายไป พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงประทานนามพระราชโอรสว่า พระรามคำแหง เพื่อเป็นการบำเหน็จ ศึกครั้งนี้ทำให้เกียรติยศชื่อเสียงของพระโอรสแผ่ไปทั่ว นับแต่นั้นมาพระรามคำแหงได้เป็นกำลังสำคัญของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ในการทำศึกสงคราม สร้างกำลังรบให้สุโขทัยเข้มแข็งพอที่จะป้องกันตนและปราบศัตรูได้ราบคาบ เป็นผลดีแก่อาณาจักร คือ มีความมั่นคง และมีอำนาจทางการเมืองเหนืออาณาจักรอื่นๆ และเป็นรากฐานให้ชาติบ้านมีความเจริญก้าวหน้าสืบต่อมา การปกครอง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จัดระเบียบการปกครองยึดนโยบายการป้องกันประเทศเป็นสำคัญ แต่คำนึงถึงสิทธิหน้าที่ของประชาชนพลเมือง โดยปกครองประชาชนในฐานะบิดากับบุตร ทั้งบิดาและบุตรมีหน้าที่เป็นทหารป้องกันประเทศในยามสงคราม แต่ยามสงบพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำในการบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร ราษฎรมีหน้าที่รับใช้ชาติบ้านเมืองของตน โดยการประกอบอาชีพให้มีรายได้และเสียภาษีอากรให้แก่รัฐ รัชกาลที่ 2 พ่อขุนบานเมือง พระราชโอรสองค์ใหญ่สของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขึ้นครองราชย์ปีใดไม่ปรากฏ ระหว่างครองราชย์ได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ไว้ในอำนาจ โดยมีพระอนุชาคือ พระรามคำแหง เป็นกำลังสำคัญ รัชกาลที่ 3 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระอนุชาของพ่อขุนบานเมือง ขึ้นครองราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง กรุงสุโขทัยมีการเปลี่ยนแปลงและเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าไปจากเดิมมาก เป็นต้นว่ามีการปกครองเข้มแข็ง ใกล้ชิดราษฎรไพร่ฟ้าประชาชนมีความอยู่ดีกินดี มีการนำชลประทานมาใช้ทางการเกษตร ทำให้ได้ผลดีขึ้น การอุตสาหกรรมมีความก้าวหน้า มีการติดต่อค้าขายกับต่างปรเทศ การเศรษฐกิจ และการเมืองมั่งคง ทำให้มีอำนาจทางการเมืองแผ่ไปกว้างใหญ่ไพศาล จนได้รับการเทิดพระเกียรติด้วยพระนามว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในภายหลังพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่ควรนำมากล่าวมีดังนี้ 1. ทรงเป็นนักรบ พระองค์ทรงชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงเข้มแข็งในการศึกสงคราม ทรงเป็นแม่ทัพไปปราบเมืองต่างๆ ในรัชกาล พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนบานเมือง จนเป็นที่เกรงขามของอาณาจักรอื่นๆ เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์มีหลายเมืองที่ยอมอ่อนน้อมโดยพ่อขุนรามคำแหงมิได้ส่งกองทัพไปรบ ได้แก่ เมืองหงสาวดี เมืองสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทร์ และเมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น ทำให้มีอาณาเขตแผ่ออกไปกว้างขวางมาก คือ ทิศเหนือ มีอาณาเขตครอบคลุมาเมืองแพร่ น่าน ปัว ถึงเมืองหลวงพระบาง ทิศใต้ มีอาณาเขตครอบคลุมเมืองคณฑี (กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) แพรก (ชัยนาท) สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี จดฝั่งทะเลสุดเขตแหลมมลายู ทิศตะวันออก มีอาณาเขตครอบคลุมเมืองสระหลวง สองแคว (พิษณุโลก) ลุมบาจาย (หล่มเก่า) สคา และข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเมืองเวียงจันทร์และเวียงคำ ทิศตะวันตก มีอาณาเขตถึงเมืองฉอด ทวาย ตะนาวศรี หงสาวดี และชายฝั่งทะเล 2. ทรงอุปการะเกื้อกูลเมืองที่ขอพึ่งบารมี เมืองใดที่มาขอพี่งพระบรมโบธิสมภารหรือยอมอ่อนน้อมโดยดี ทรงช่วยเหลืออุปการะ พระราชทานข้าวของเงินทองและไพร่ พล ช้าง ม้า เมืองใดที่ยอมเป็นประเทศราช ทรงใช้หลักธรรมในการปกครอง เพื่อให้ประชาชนพลเมืองอยุ่เย็นเป็นสุข บางเมืองที่เป็นของคนไทยและมิได้เป็นภัย ก้มิได้รุกราน เช่น เมืองแพร่ เมืองน่าน แม้แต่เมืองละโว้ก็ยังคงเป็นอิสระอยู่ได้ 3. ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826 ทำให้ไทยมีตัวหนังสือประจำชาติ มีความเจริญรุ่งเรืองทางวรรณกรรม ก่อให้เกิดวรรณคดีล้ำค่าสืบมา 4. ทรงเป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภก ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบต่อจากรัชกาลก่อน โดยนิมนตร์พระภิกษุที่เคร่งครัดในทางพระวินัยและพระปรมัตถ์จากเมือง นครศรีธรรมราชมาเป็นผู้สั่งสอน เพื่อให้พระพุทธศาสนาเป็นแบบเดียวกัน คือ แบบเถรวาท หรือ หินยาน พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทหรือหินยานได้เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน 5. ทรงเป็นนักปกครองที่เข้าถึงประชาชน ทรงเป็นผู้นำสร้างชาติให้มั่นคงเป็นแบบอย่างต่อมาคือ การใกล้ชิดประชาชน ผู้ใดเดือดร้อนต้องการร้องทุกข์ขอควา ช่วยเหลือให้เข้าไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูวัง จะเสด็จออกมารับเรื่องร้องทุกข์ด้วยพระองค์เอง จึงทำให้บ้านเมืองสงบร่มเย็นเป็นสุข 6. ทรงมีนโยบายอุปถัมภ์หัวเมืองต่างๆ ทรงให้ความอุปถัมภ์สนับสนุนหัวเมืองตามโอกาสเป็นต้นว่า ยกพระราชธิดาให้เป็นมเหสีของ มะกะโท (พระเจ้าฟ้ารั่ว) ผู้นำ อาณาจักรมอญซี่งเข้ามาสวามิภักดิ์ นอกจากนี้ยังช่วยเหลือหัวเมืองในการสร้างบ้านสร้างเมือง ด้วยความยุติธรรมเสนอภาคกัน ทำให้ผู้ครองเมืองต่างๆ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ไม้กล้าล่วงละเมิดอำนาจพากันเป็นมิตรไมตรี ไม่รุกรานอาณาจักรสุโขทัย โดยเฉพาะทรงเป็นมิตรสนิทกับพ่อขุนมังรายแห่งอาณาจักรล้านนา ทำให้ปราศจากศึกศัตรูทางทิศเหนือ รัชกาลที่ 4 พระยาเลอไทย พระราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ครองราชย์ประมาณ 40 ปี พระยาเลยไทยทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน มุ่งปฎิบัติจนแตกฉาน มุ่งปฏิบัติธรรม บำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง การศึกษาพระธรรมและภาษาบาลีได้เริ่มขึ้นและเจริญก้าวหน้าในรัชกาลนี้ รัชกาลที่ 5 พระยางั่วนำถม พระอนุชาของพระยาเลอไทย เมื่อราชาภิเษกแล้วได้ทรงแต่งพระยาลิไทย (พระราชโอรสของพระยาเลอไทย) ไปปกครองเมืองศรีสัชนาลัย อันเป็นเมืองที่ถือว่ารัชทายาทแห่งราชบัลลังกืจะพึงครองก่อนเป็นพระมหากษัตริย์ ในรัชกาลนี้ได้มีการปราบปรามเมืองต่างๆ ที่แข็งเมืองมาตั้งแต่รัชกาลพระยาเลอไทยแต่ไม่สำเร็จ ทั้งยังไม่สามารถแก้ไขความเสื่อมโทรม และความแตกแยกภายในได้ ตอนปลายรัชกาลจึงเกิดจลาจลขึ้น พระยาลิไทยองค์รัชทายาทจึงยกกำลังจากเมืองศรีสัชนาลัย เข้าเมืองสุโขทัยเพื่อปราบจลาจล รัชกาลที่ 6 พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) พระราชโอรสของพระยาเลอไทย (รัชกาลที่ 4) หลังจากปราบการจลาจลในกรุงสุโขทัยได้สำเร็จ และขึ้นครองราชยืแล้วทรงพิจารณาเห็นว่า เกิดความแตกแยกและขาดความไว้วางใจกันในอาณาจักร จึงทรงริเริ่มรวบรวมกำลังอำนาจ สร้างความสามัคคีเพื่อพัฒนาบ้านเมืองใหม่ ทำให้สุโขทัยเข้มแข็งขึ้น พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ได้แก่ 1.การปกครอง พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประชาชนในฐานะธรรมราชาหรือพระราชาผู้ทรงธรรม ทรงยึดมั่นใน หลักธรรมของพระพุทธศาสนาในการปกครองบ้านเมืองคือ ทรงปกครองด้วยหบักทศพิธราชธรรม ซึ่งมิได้มุ่งเน้นที่พระมหากษัตริย์เท่านั้น แต่หมายรวมถึงข้ารราชบริพาร ที่ทำหน้าที่แทนพระองค์ในกิจการทั้งหลายอันเกี่ยวกับการปกครอง มีการชักชวนสงเสริมให้ประชาชนเลื่อมใสศัทธาในหลักธรรมและนำไปปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ 2. การป้องกันอาณาจักร ใน พ.ศ. 1893 เมืองสุพรรณภูมิและเมืองละโว้ (ลพบุรี) ได้รวมกันตั้งอาณาจักรอยุธยาขึ้น มีพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์ประกาศเป็น อาณาจักรอิสระไม่ขึ้นต่อสุโขทัย และเมืองลาว ก็ได้ขยายอาณาเขตเข้ามาจดแดนของอาณาจักรสุโขทัย ทรงตระหนักในภัยที่อาจเกิดขั้นได้ จึงได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ผนึกกำลังรักษาบ้านเมืองไว้ได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้พระองค์พยายามฟื้นฟูอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นที่ยอมรับของอาณาจักรใกล้เคียง ด้วยการสร้างกำลังกองทัพทำศึกสงครามมยกทัพไปตีเมืองแพร่ และปราบหัวเมืองต่างๆ อาณาเขตของสุโขทัยในสมัยของพระองค์ลดลงจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงมากกว่าครี่ง มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ ถึงเมืองแพร่ ทิศใต้ ถึงเมืองพระบาง โดยมีเมืองชากังลาว เมืองปากยม เมืองนครพระชุทม เมืองสุพรรรณภาว และเมืองพานร่วมาอยู่ด้วย ทิศตะวันออก ถึงแดนอาณาจักรล้านช้างโดยมีเมืองสระหลวง เมืองสองแคว เมืองราด เมืองลุมบาจาย และเมืองสคารวมอยู่ด้วย ทิศตะวันตก ถึงเมืองฉอด 3. เศรษฐกิจ ด้วยเหตุที่อาณาจักรอยุธยาและเมืองลาว มีกำลังอำนาจเข้มแข็ง อาจขยายอำนาจและอาณาเขตเข้ามาในอาณาจักรสุโขทัย จำเป็นต้องสะสมเสบียง อาหาร จึงทำนุบำรุงการประกอบอาชีพโดยเฉพาะทางการเกษตรกรรม ได้มีการขยายพื้นที่การทำกินของราษฎรเพิ่มขึ้น มีการตัดถนนจากเมืองสองแควไปถึงเมืองสุโขทัย เพื่อใช้ในการคมนาคม และใช้พื้นที่สองฟากถนนทำสวนผักผลไม้ ทำไร่ ทำนา เป็นการเพิ่มผลผลิต เมื่อไม่เกิดสงครามจึงเป็นผลดีในทางเศรษฐกิจของอาณาจักร 4. ศาสนา ทรงศรัทธาพระพุทธศาสนามาก พระองค์ทรงผนวชอยู่หนึ่งพรรษา โดยทรงอาราธนาพระมหาสามัสังฆราชชาวลังกา ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่เมืองนครพัน (ปัจจุบันคือ เมทืองเมาะตะมะ หรือมะตะบัน) มาเป็นพระอุปัชฌาย์ในการผนวชของพระองค์ พระองค์ทรงบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง มีการสร้างพระพุทธบาทโดยจำลองรอยพระพุทธบาทมาจากประเทศลังกา สร้างสถูปเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่เมืองนครชุม และสร้างศาสนสถานอื่นๆ เป็นการชักชวนให้ประชาชนจากเมืองต่างๆ มานมัสการสถานศักดิ์สิทธิ์ที่พระองค์สร้างขึ้น ช่วยให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธา และง่ายแก่การเผยแผ่ปฏิบัติธรรมะ ส่งผลให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ 5.วรรณคดี ทรงนิพนธ์หนังสือ เตภูมิกถา (เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง) หนังสือเล่มนี้ จัดเป็นวรรณคดีล้ำค่าที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน พระองค์ทารงนิพนธ์ เพื่อนนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาเผยแผ่เพื่อประพฤติปฏิบัติ เป็นการปลูกฝังธรรมะให้ประชาชนรู้จักประพฤติในทางที่ชอบและดีงาม มีการนำสวรรค์และนรกมาแสดงเป็นรูปธรรมเพื่อให้ประชาชนเห้นผลของการประพฤติดี ประพฤติชั่ว ปรากฏว่ามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนมาก รัชกาลที่ 7 พระมหาธรรมราชาที่ 2 พระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เหตุการณ์สำคัญในรัชกาลนี้ คือ กรุงสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา ใน พ.ศ. 1921 ขณะที่พระมหาธรรมราชาที่ 2 ขึ้นครองราชย์นั้น พระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) แห่งอาณาจักรอยุธยา มีพระราชประสงค์จะรวมชนชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นเป็นปึกแผ่นเป็นอาณาจักรเดียวกัน จึงยกทัพรุกรานอาราจักรสุโขทัยหลายครั้ง ครั้งสำคัญ คือ ใน พ.ศ. 1921 ได้ยกไปตีเมืองชากังราวพระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงเห็นว่า จะสู้รบต่อไปไม่ได้จึงยอมอ่อนน้อมต่ออยุธยา พระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) จึงโปรดให้ครองสุโขทัยต่อไปในฐานะเมืองประเทศราช จนกระทั่งถึง พ.ศ. 1931 สุโขทัยจึงประกาศตนเป็นอิสระจากอยุธยา รัชกาลที่ 8 พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) พระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ในรัชสมัยนี้พระองค์ได้ทำสัญญากับเจ้าเมืองน่าน ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกั้นเมื่อถูกอาณาจักรอื่นรุกราน สุโขทัยาจึงมีความสงบในระยะเวลาหนึ่ง พระองค์ทรงมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ พระยาบาลเมือง กับ พระยาราม แต่มิได้ทรงแต่งตั้งให้พระองค์ใดเป็นรัชทายาท ดังนั้นเมื่อเสด็จสวรรคต พระยาบาลเมือง กับพระยาราม จึงชิงราชสมบัติกันเป็นโอกาสให้สมเด็จพระอินทราชา แห่งอาณาจักรอยุธยา เสด็จมาระงับการจลาจล และไกล่เกลี่ยการแย่งชิงราชสมบัติครั้งนี้ ทารงอภิเษกให้พระยาบาลเมืองสงบเรียบร้อย พระอินทรราชาทรางขอพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 อภิเษกสมรสกับเจ้าสามพระยาพระราชโอรสของพระองค์ นับเป็นครั้งแรกที่ราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยกับราชวงศ์สุพรรณภูมิแห่งกรุงศรีอยุธยามีความเกี่ยงดองเป็นเครือญาติกัน รัชกาลที่ 9 พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) พระยาบาลเมืองได้รับการอภิเษกให้ครองกรุงสุโขทัย (ในฐานะปรแทศราชของอยุธยา) ทารงพระนามว่า พระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชา นับว่าพระองค์ได้ทรงเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 ต่อจากพระราชบิดา (พระมหาธรรมราชาที่ 3) เมื่อพระองค์สวรรคตใน พ.ศ. 1981 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงส่งพระราเมศวร (พระราชโอรสซึ่งประสูติจากพระอัครชายาที่เป็นพระธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3) ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก ซี่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย ทำให้อาณาจักรสุโขทัยรวมกับอาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรเดียวกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และนับเป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัย การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย การปกครองสมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบราชาธิปไตย ที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเด็ดขาด ในตอนต้นของการตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตร แต่ตอนปลายสมัยเป็นการปกครองแบบธรรมราชา และมีการสร้างความสัมพันธ์กับอาณาจักรอื่น เพื่อพัฒนาอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นเจริญรุ่งเรือง อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง จำนวนพลเมืองยังไม่มาก และอยู่ในระหว่างก่อร่างสร้างตัว การปกครองในระยะเริ่มแรกจึงมีลักษณะเป็นระบบครอบครัว ผู้นำของอาณาจักรมีฐานะเป็นพ่อขุน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน ผู้ปกครองเปรียบเสมือนบิดาของประชาชนทั้งปวง ต่อมาภายหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป จึงเริ่มใช้วิธีการปกครองที่เป็นแบบแผนมากขึ้น ความสัมพันธ์ของผู้นำอาณาจักรกับประชาชนแตกกต่างไปจากเดิม มีความพยายามเพิ่มพูนพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ให้สูงขึ้น ทรงมีฐานะเป็น ธรรมราชา และทรงให้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธา มาเป็นหลฃักในการปกครอง ลักษณะการปกครอง ลักษณะการาปกครองสมัยสุโขทัยแบ่งได้ 2 ระยะ คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น เริ่มจากรัชสมัยพ่อขุนศรึอินทราทิตย์ไปถึงสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กับการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย นับจากรัชสมัยพระยาเลอไท ไปจนกระทั่งอาณาจักรสุโขทัยหมดอำนาจลง การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น พ.ศ. 1792 – 1841 เมื่อขอมมีอำนาจปกครองสุโขทัยอยู่นั้น การปกครองมีลักษณะคล้ายนายปกครองบ่าว ซึ่งขัดกับลักษณะนิสัยของคนไทยที่รักความเป็นอิสรเสรี เมื่อขับไล่ขอมไปได้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดระบลบการปกครองเสียใหม่ เป็นการปกครองเสมือนหนึ่งประชาชนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว คือ พระมหากษัตริย์ปกครองประชาชนในลักษณะบิดาปกครองบุตร หรือที่มีผู้เรียกว่า เป็นการปกครองในระบบ ปิตุราชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้ 1. รูปแบบการปกครองเป็นการปกครองแบบราชาธิปไตย คือ พระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็น ผู้ใช้อำนาจอธิปไตย 2. พระมหากษัตริย์ทรงมีความสัมพันธ์กับราษฎรเสมือนบิดากับบุตร มิได้มีฐานะแตกต่างจากราษฎรมากนัก กล่าวคือ พระมหากษัตริย์เปรียบได้กับหัวหน้าครอบครัวหรือพ่อ พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยตอนต้น มักใช้พระนามว่า พ่อขุน เช่น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนผาเมือง พ่อขุนรามคำแหง เป็นต้น อันสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนว่ามีความใกล้ชิดกัน 3. ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ นอกจากพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเสมือนบิดาของราษฎรแล้ว ยังมีการจัดระบบการปกครอง ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้าน อยู่ในความดูแลของ พ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครองเรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวามเป็น เมือง มีผู้ปกครองเรียกว่า พ่อเมือง เมืองหลายเมืองรวมกันเป็น ประเทศ อยู่ในปกครองของ พ่อขุน แสดงให้เห็นว่านอกจากพ่อขุนผู้เป็นประมุขสูงสุดแล้ว ยังมีผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายจากพ่อขุน ทำหน้าที่เป็นกลไกทางการปกครองอีกด้วย 4.พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง และทรงชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ดังจะเห็นได้จากข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งกล่าวไว้ ดังนี้ “..........พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ไว้สิบสี่ข้าว จึ่งให้ชางฟันขดานหินตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับเดือนโอกแปดวัน วันเดือนเต็มเดือนบ้างแปดวัน ฝูงปู่ครู เถร มหาเถร ขึ้นนั่งเหนือขดานหินสูดธรมแก่อุบาสกฝูงท่วยจำศีล......” การที่พ่อขุนรามคำแหงทรงให้พระเถระทังหลายนำหลักธรรมทางพระพุทะศาสนามาเผยแผ่ สั่งสอนราษฎรให้เป็นผู้ประพฤติดีประพฤติชอบตามหลักธรรม ก็เพื่อจะให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาพุทธ โดยพระองค์ทรงนำทางเป็นตัวอย่าง คือ ทรงให้พระเถระเทศนาสั่งสอนที่กลางดงตาลในวันสิ้นเดือน (วันเดือนดับ) วันขึ้นแปดค่ำ (เดือนโอกแปดวัน) วันเพ็ญ (วันเดือนเต็ม) และวันแรมแปดค่ำ (เดือนบ้างแปดวัน) เป็นประจำ เป็นการนำธรรมะมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจทำให้เกิดความสามัคคีเป็นประโยชน์ต่อการปกครอง ดังศิลาจารึกที่กล่าวไว้ดังนี้ “.......คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศลี มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน.........” การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย พ.ศ. 1841 – 1981 หลังจากพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จสวรรคต ใน พ.ศ. 1841 แล้ว อาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสาย พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาคือ พระยาเลอไท และพระเจ้างั่วนำถม ไม่อาจรักษาความมั่นคงของอาณาจักรไว้ได้ เมืองหลายเมืองแยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงสุดขทัย สภาพการเมืองภายในเกิดปํญหาการสืบราชสมบัติ รูปแบบการปกครองแบบบิดากับบุตร หรือแบบปิตุราชาธิปไตย เริ่มเสื่อมคลายลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงเพียงพอ ความระส่ำระสายในอาณาจักรสุโขทัย มีขึ้นตลอดระยะเวลาประมาณ 50 ปี หลังจากพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคต ถึงขนาดทำให้การขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าลิไทยย ต้องใช้กำลังปราบปราม เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทยย) ขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890 นั้น ทรงตระหนักถึงความไม่มั่นคงภายใน ประกอบกับเวลานั้นอาณาจักรอยุธยาที่ตั้งขึ้นใหม่ก็กำลังแผ่อำนาจจนน่ากลัวจะเกิดอันตรายแก่กรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทยย) คงจะทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารอย่างเดียวไม่อาจทำได้ เพราะอำนาจทางทหารของกรุงสุโขทัยในรัชสมัยของพระองค์ไม่เข้มแข็งพอ จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย โดยทรงทำนุบำรุงส่งเสริมทางพระพุทธศาสนา ทรงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่พสกนิกร และได้ทรงสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วไป เพื่อเป็นที่เคารพบูชาของประชาราษฎรให้เกิดเลื่อมใสศรัทธายึดหลักธรรมะของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต สร้างความสามัคคีกลมเกลียวมั่นคงขึ้นในแผ่นดิน การปกครองทีอาศัยพระพุทธศาสนานี้ เรียกว่า การปกครองแบบธรรมราชา พระมหากษัตริย์แบบธรรมราชาต้องทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม ความจริงแนวความคิดเรื่องธรรมราชานี้มีแทรกอยู่ทั่วไปในนโยบายการปกคอรงอาณาจักรต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนา รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยก่อนรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทยย) ด้วย แต่นับได้ว่าพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ทรงเป็นผู้นำแนวความคิดเรื่องธรรมราชามาปฏิบัติ ให้เป็นระบบอย่างจริงจัง พระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมาล้วนทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชา และทรงปกครองราษฎรในแบบ ธรรมราชา เหมือนกันทุกพระองค์ จนถึงรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) ซึ่งเป็นรัชกาลที่ 9 และเป็นรัชกาลสุดท้ายของราชอาณาจักรสุโขทัย การปกครองราชธานีและหัวเมืองต่างๆ เมืองต่างๆ ในอาณาจักรสุโขทัย แบ่งออกเป็น 4 ชั้น แต่ละชั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจปกครองดังนี้ 1. เมืองหลวง หรือราชธานี อาณาจักรสุโขทัยมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองหลวงหรือราชธานีเป็นที่ประทับของ พระมหากษัตริย์ พระราชวังและวัดจำนวนมากตั้งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะและขนบประเพณีทั้งปวง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองเอง 2.เมืองลูกหลวง เมืองลูกหลวงเป็นเมืองหน้าด่าน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หัวเมืองชั้นใน ตั้งอยู่รอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2 วัน เมืองลูกหลวง มีดังนี้ ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) ทิศตะวันออก ได้แก่ เมืองสองแคว (พิษณุโลก) ทิศใต้ ได้แก่ เมืองสระหลวง (พิจิตรเก่า) ทิศตะวันตก ได้แก่ เมืองนครชุม (ปากคลองสวนหมาก กำแพงเพชร) เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้รั้บการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองส่วนเมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองลูกหลวงที่มีฐานะเป็นเมืองอุปราช ตลอดสมัยสุโขทัย 3.เมืองพระยามหานคร เมืองพระยามหานครเป็นหัวเมืองชั้นนอก ห่างจากราชธานีออกไป มากกว่าเมืองลูกหลวง พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งผู้เหมาะสมและมีความสามารถไปปกครองดูแล เมืองเหล่านี้ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีวิธีการปกครองลักษณะเดียวกับเมืองชั้นใน เมืองพระยามหานครในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมีหลายเมือง เช่น เมืองพระบาง (นครสวรรค์) เมืองเชียงทอง (ตาก) เมืองบางพาน (กำแพงเพชร) เมืองบางฉลัง (กำแพงเพชร) เป็นต้น 4. เมืองประเทศราช เมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองทีอยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติ พระมหากษัตริย์ สุโขทัยทรงดำเนินนโยบายปกครอง ให้ชาวพื้นเมืองเป็นกษัตริย์หรือเป็นเจ้าเมืองปกครองกันแอง โดยไม่เข้าไปยุ่งเกียวกับการปกครองภายใน ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ยามปกติเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ (ส่วย) มาถวายต่อพระมหากษัตริย์สุโขทัยทุกปี ยามสงครามจะต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารไปช่วย สมัยพ่อขุนรามคำแหง มีเมืองประทเศราชหลายเมือง คือ ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองแพร่ เมืองน่าน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เมืองเช่า (หลวงพระบาง) เมืองเวียงจันทร์ ทิศตะวันตก ได้แก่ เมืองทวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี ทิศใต้ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์ หากวิเคราะห์วิธีแบ่งเขตการปกครองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยจัดให้มีเมืองลูกหลวงวงล้อมกรุงสุโขทัยวอันเป็นเมืองราชธานี จะมีลักษณะเป็นเสมือนกำแพงชั้นที่ 1 ส่วนเมืองพระยามหานครเป็นเสมือนกำแพงชั้นที่ 2 และเมืองประเทศราชเป็นเสมือนกำแพงชั้นที่ 3 ความสัมพันธ์กับอาณาจักรอื่นๆ เมื่อเริ่มตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น กล่าวได้ว่าเมืองสุโขทัยอยู่ท่ามกลางอาณาจักรหรือหัวเมืองที่เป็นของชนชาติไทยกลุ่มอื่นหรือชนชาติอื่นซึ่งต่างเป็นอิสระมี่อำนาจมากบ้างน้อยบ้าง คือ ทางตะวันออก มีอาณาจักรขอม และเมืองขึ้นของขอม ทางใต้ มีพวกขอมเข้ามาตั้งราชธานีเป็นเมืองมหาอุปราชที่เมืองละโว้ และมีแคว้นของชนชาติไทยอีกหลายแคว้น เช่น แคว้นสุพรรณภุมิ (สุพรรณบุรี) และแคว้นนครศรีธรรมราช ทางตะวันตก มีคนไทยตั้งถิ่นฐานเป็นอิสระอยู่หลายเมือง เช่น เมืองฉอด ซึ่งมีอำนาจเข้มแข็งอยู่กอนสุโขทัย ถัดออกไปเป็นเมืองของชาติมอญ ทางเหนือ มีเมืองในอาณาจักรล้านนา สภาพแวดล้อมตามที่กล่าวข้างต้นทำให้เห็นว่า อาณาจักรสุโขทัยจำเป็นต้องมีนโยบายสร้างความสัมพันธ์กับอาณาจักรหรือเมืองต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 1. ความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัยสร้างความสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักรล้านนามาตลอด ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในสมัยพ่อขุนสศรีอินทราทิตย์ จนถึงสมัยพ่อ ขุนรามคำแหง ทรงดำเนินนโยบายผูกสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรล้านนาให้แน่นแฟ้มยิ่งขึ้น เพราะเป็นชนชาติไทยด้วยกัน คือ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง อาณาจักรล้านนามีบุคคลสำคัญ คือ พ่อขุนมังราย เจ้าเมืองเงินยาง และพ่อขุนงำเมือง เจ้าเมืองพะเยา ทั้งสามองค์เป็นมิตรสนิทสนมกันมาแต่เยาว์วัย เมื่อมีอำนาจปกครองบ้านเมือง จึงมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ใน พ.ศ. 1835 พ่อขุนมังรายสร้างราชธานีใหม่ มีชื่อว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ พ่อขุนรามคำแหงและพ่อขุนงำเมืองก็ได้ให้ความร่วมมือ ตลอดระยะเวลาที่อาณาจักรสุโขทัยเป็นอิสระผู้ปกครองอาณาจักรทั้งสองฝ่ายต่างเป็นมิตรไมตรีกัน ผลดีเกิดขึ้นจากการมีสัมพันธไมตรีอันดีของอาณาจักรไทยด้วยกันระหว่างสุโขทัยและล้านนา คือ สร้างความมั่นคงให้แก่ชนชาติไทยต่างพวกกันให้เป็นอันหนี่งอันเดียวกัน ต่างช่วยเหลือซี่งกันและกัน สร้างความเจริญก้าวหน้าด้วยกัน โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ และยังมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมให้กันและกัน การเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกันเป็นเกราะป้องกันศัตรูได้อย่างดี คือ ทำให้อาณาจักรอื่นไม่กล้ารุกราน 2. ความสัมพันธ์กับเมอืงนครศรีธรรมราช อาณาจักรสุโขทัยมีความสัมพันธ์อันดีกับนครศรีธรรมราชตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทำให้ได้รับผลดีหลายประการ คือ สุโขทัยรับเอาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาเผยแผ่ในสุโขทัย และได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากประชาชนเป็นอย่างดี ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมืองนครศรีธรรมราชเข้าร่วมอยู่ในอาณาจักรสุโขทัย สร้างความมั่นคงแก่สุโขทัย 3. ความสัมพันธ์กับลังกา อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนศรึอินทราทิตย์ เริ่มมีความสัมพันธ์กับลังกาในทางพระพุทธศาสนาโดยผ่านเมืองนครศรีธรรมราช เจ้ากรุงลังกาได้ ถวายพระพุทธสิหิงค์แก่สุโขทัย ในสมัยต่อมาก็มีพระเถระจากสุโขทัย เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกที่ลังกา รัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ก็โปรดเกล้า ฯ ให้ไปพิมพ์รอยพระพุทธบาทของลังกามาประดิษฐไว้บนยอดเขาสุมนกูฎในเมืองสุโขทัยด้วย นอกจากนี้ยังได้เชิญพระมหาสามีสังฆราชจากเมืองนครพัน (เมาะตะมะ หรือ มะตะบัน) ประเทศมอญ ซึ่งเป็นชาวลังกามาเป็นอุปัชฌาย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ 4. ความสัมพันธ์กับอาณาจักรมอญ อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนบานเมืองยังไม่มีสัมพันธไมตรีกับอาราจักรมอญที่ปรกฎชัด ต่อมาในรัชกาล พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงสนับสนุน มะกะโท ชาวมอญ โดยรับไว้เป็นราชบุตรเขยแลได้ส่งเสริมจนมีโอกาสได้เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรมอญและพระราชทานพระนามไว้ว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว อาณาจักรมอญจึงสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรสุโขทัยตลอดรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง จนเมื่อพระเจ้าฟ้ารั่วสิ้นพระชนม์แล้ว หัวเมืองมอญาจึงตั้งตนเป็นอิสระ ไม่ยอมขึ้นต่อสุโขทัยอีก 5. ความสัมพันธ์กับอาณาจักรลาว สมัยพ่อขุนรามคำแหง อาณาจักรสุโขทัยมีอำนาจเหนือหัวเมืองลาวบางเมืองในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงทางฝั่งซ้าย คือ ทางด้านตะวันออก ถึงเมืองเวียงจันทน์ เวียงคำ ทางเหนือถึงเมืองหลวงพระบาง หัวเมืองลาวดังกล่าวจึงเป็นเมืองประเทศราชของสุโขทัย เมื่อสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหง หัวเมืองลาวได้ตั้งตนเป็นอิสระปกคองตนเอง ครั้นถึง พ.ศ. 1896 – 1916 เจ้าฟ้างุ้ม กษัตริย์ลาวได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ตั้งอาราจักรลาวสุโขทัย การที่ลาวเข้มแข็งและมีอำนาจเป็นผลดีต่อไทย เพราะลาวได้หันไปต่อสู้กับขอม จนทำให้ขอมอ่อนอำนาจและไม่มีกำลังพอที่จะมารุกรานไทย อาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรลาวในช่วงนี้ จึงมีความสัมพันธ์ในทางสันติมิได้เป็นศัตรูต่อกัน 6. ความมสัมพันธ์กับจีน แม้จีนจะอยู่ห่างไกล แต่มีอำนาจมาก จึงแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนประเทศต่างๆ ในแถบนี้ ในสมัย พระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ (กุบไลข่าน) ได้ส่งพระราชสาสน์มายังสุโขทัยเตือนใสห้นำเครื่องบรรณาการไปถวายพระองค์ ครั้งสำคัญคือเมื่อ พ.ศ. 1837 พ่อขุนรามมคำแหงทารงเห็นว่าหากนิ่งเฉยหรือขัดขืน อาจเกิดสงครามกับจีนได้ จึงโปรดให้แต่งราทูตนำเครื่องบรรณาการไปถวายกษัตริย์จีน สุโขทัยและจีนจึงมีไมตรีต่อกัน มีผลดีทั้งทางเศรษฐกิจการเมือง คือ มีการติดต่อค้าขายกับจีน และได้รับศิลปะการทำเครื่องเคลือบ ซึ่งต่อมาเรียกว่า เครื่องสังคโลก ผลิตเป็นสินค้าออกเป็นที่นิยมมาก นอกจากนี้ยังได้รับความรู้ในการเดินเรือทะเลจากจีนสามารถนำเรือบรรทุกสินค้าไปค้าขายกับนานาประเทศได้ ส่วนทางการเมืองก็ได้รับความเชื่อถือจากประเทศอื่นๆ เนื่องจากจีนให้การรับรองไม่ต้องถูกปราบปรามเหมือนบางประเทศ ส่งผลให้สุโขทัยมีการแลกเปลี่ยนซิ้อาขายกับจีนและประเทศอื่นๆ ขยายตลาดกว้างขวางขึ้น 7.ความสัมพันธ์กับอาณาจักรขอม พ่อขุนรามคำแหงเริ่มขยายอำนาจไปทางลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง เข้าโจมตีอาณาจักรขอม โดยได้รับการสนับสนุนาจากจักรพรรดิกุบไล ข่าน การทำสงครามนำความเสียหายให้แก่ขอม เป็นการทำลายอำนาจทางการเมืองของขอมที่เคยมีอยุ่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขงและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาให้สิ้นสุดลง 8.ความสัมพันธ์กับอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรอยุธยาได้สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 โดยพระเจ้าอู่ทอง (พระรามาธิบดีที่ 1) เป็นพระมหากัตริย์พระองค์แรก ได้รับการ สนับสนุนจากแคว้นละโว้และสุพรรณภูมิ จึงมีความเข้มแข็งมาก ได้สถาปนาราชอาณาจักรไม่ขึ้นต่อสุโขทัย ซี่งช่วงเวลานี้ตรงกับรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ (ลิไทย) ในระยะแรกที่กรุงศรีอยุธยาสถาปนาเป็นอาณาจักรนี้ สุโขทัยอละอยุธยาได้มีการสู้รบกันเป็นครั้งคราว จนกระทั่ง พ.ศ. 1921 ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 สุโขทัยก็ตกเป็นประเทศราชาของอยุธยาซึ่งมีพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เป็นกษัตริย์ แม้ต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) จะประกาศอิสรภาพจากอยุธยาได้สำเร็จ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต ราชโอรสของพระองค์ก็แย่งชิงราชสมบัติกัน เป็นเหตุให้สมเด็จพระอินทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยายกทัพขึ้นไปไกล่เกลี่ย ทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน และเมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) สวรรคต เจ้าสามพระยาแห่งอาณาจักรอยุธยา ได้ทรงส่งพระราเมศวร พระราชโอรสที่เกิดจากพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกซี่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย สุโขทัยจึงถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยาเป็นอันสิ้นสุดอาณาจักราสุโขทัย เศรษฐกิจสมัยสุโขทัย ปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะเศรษฐกิจของสุโขทัย เศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญก้าวหน้า ประชาชนในสมัยนั้นมีความเป็นอยู่ดี ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ลักษณะเศรษฐกิจของสุโขทัยมีความเจริญก้าวหน้า คือ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และความสามารถของผู้นำ 1. ลักษณะทางภูมิศาสตร์ สุโขทัยอยู่ในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีพื้นที่เป็นที่ราบส่วนใหญ่ จึงเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม ทางทิศเหนือมีภูเขาติดต่อกัน เป็นพืดลงมา ทางตะวันตกมีเขาหลวงและเขาแล้งเป็นภูเขาใหญ่ และทิวเขาถ้ำเจ้ารามมีขนาดรองลงมา ในบางท้องที่มีภูเขาที่มีน้ำตกหลายแห่งให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน มีป่าที่อุดมด้วยไม้มีค่า มีพื้นที่ราบกว้างทางตะวันออกลงมา ทางใต้มีแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง อยู่ทั่วไป เป็นแหล่งวน้ำเพื่อการเพาะปลูกและเป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปู ปลา เป็นต้น ลักษณะภูมิประเทศของสุโขทัยประกอบด้วยที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบเชิงเขา บริเวณลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำใหญ่ 3 สาย คือ แม่น้ำปิง ผ่านตาก และกำแพงเพชร แม่น้ำยม ผ่านศรีสัชนาลัย และสุโขทัย แม่น้ำน่าน ผ่านอุตรดิตถ์ พิษณุโลก และพิจิตร บริเวณพื้นที่ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำแต่ละสายจึงเป็นแหล่งสำคัญที่ส่งเสริมการประกอบอาชีพเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และทำประมง ตลอดจนใช้เป็นแหล่งที่ตั้งบ้านเรือนได้ดี ส่วนทางทิศตะวันตกขจองสุโขทัยจนถึงกำแพงเพชรพื้นที่เป็นดินดอน มีความอุดมสมบูรณ์น้อยกว่าบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ แต่สามารถเพาะปลูกพืชบางชนิด และสามารถใช้เลี้ยงสัตว์ได้ 2. ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำซี่งเป็นสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยาสลับกับที่ดอน จึงมีน้ำอุดมสมบูรณ์ในหน้าฝน น้ำน้อยใน หน้าแล้ง รอบๆ เมืองมีป่าไม้ขึ้นอยู่ทั่วไป สุโขทัยจีงมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธรรมชาติ มีการทำสวนทำไร่ทั่วไป ดังข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ดังนี้ ......... เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว........... .......... สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ......... ........... กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีน้ำตระพังโพย สีใสกินดี.......... 3. ความสามารถของผู้นำ นอกจากลักษณะทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกประการหนี่ง คือ พระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ใน สมัยสุโขทัยที่ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการเกษตรทรางทำนุบำรุงโดยส่งเสริมด้วยวิธีการต่างๆ ที่สำคัญคือ ๏ การให้กรรมสิทธิ์ที่ดิน เมื่อประชาชนหักร้างถางพง ปลูกพืชพันธุ์ทำมาหากินในที่ดินแห่งใด ให้ที่ดินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้นั้น และเมื่อ เจ้าของตายก็ให้ตกเป็นของลูกหลานสืบต่อไป ทำให้ประชาชนมีกำลังใจในการประกอบอาชีพ ซึ่งปรากฏตามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังนี้ .........หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน .......... .......... ผู้ใดแล้ล้มตายหายกว่า..... ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น......... ๏ การพัฒนาทางการเกษตร สุโขทัยได้นำระบบชลประทานมาช่วยในการเกษตร เช่น มีการสร้างเขื่อน สร้างทำนบ ขุดคูคลอง เพื่อกัก เก็บ กั้น และส่งน้ำไปใช้ในการเพาะปลูก ที่ศิลาจารึกยกมา กล่าวคือ สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง จัดเป็นเขื่อนทีสร้างขึ้นจากดินเพื่อการชลประทาน แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิทยาการการพัฒนาระบบน้ำ การสร้างตระพังเก็บน้ำและเหมืองฝาย ตั้งแต่ศรีสัชนาลัยผ่านสุโขทัยไปถึงกำแพงเพชร เป็นการใช้แรงงานคนเป็นหลัก จัดว่าเป็นความร่วมแรงร่วมใจของคนไทยอย่างดี ยิ่งทำให้บริเวณดังกล่าวใช้เพาะปลูกได้ผลดี นอกยจากพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์แล้ว ประชาชนในราชอาณาจักรสุโขทัยยังมีความขยันหมั่นเพียร ยึดมั่นในหลักของพระพุทธศาสนา ไม่เบียดเบียนกัน มีความสามัคคีปรองกัน จึงทำให้เศรษฐกิจของ สุโขทัยเจริญก้าวหน้า ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสงบยสุข ลักษณะเศรษฐกิจสุโขทัย จากปัจจัยดังกล่าว ทำให้ลักษณะเศรษฐกิจของสุโขทัยขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของประชาชน คือ เกษตรกรรม หัตถกรรม และการค้าขาย เกษตรกรรม อาชีพหลักของชาวสุโขทัยทัย คือ เกษตรกรรม จากข้อมูลที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกทำให้ทราบว่า มีทั้งการทำนา ทำไร่ ทำสวน บริเวณที่ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน บริเวณเมืองสุโขทัย สองแคว ชากังราว ศรีสัชนาลัย และตาก พืชที่ปลูกกันมากในสมัยสุโขทัย คือ ข้าว รองลงมาเป็นไม้ผล เช่น มะพร้าว มะม่วง และหมาก นอกจากนี้ยังมีพืชไร่อื่นๆ อีก นอกจากจะมีการเพาะปลูกแล้ว ยังมีการส่งเสริมการเลี้ยวงสัตว์ไว้ใช้งาน เป็นอาหาร และนำมาแลกเปลี่ยนค้าขายกันโดยเสรีอีกด้วย หัตถกรรม ในสมัยสุโขทัยมีสิ่งประดิษฐ์ที่สนองความต้องการพื้นฐาน ได้แก่ การทำเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อการดำรงชีวิต ได้แก่ งานเหล็ก เช่น มีด ขวาน จอบ เสียม เครื่องมือทำการเพาะปลูก งานปั้น เช่น โอ่ง ไห หม้อ และงานจักสาน เช่น กระบุง ตะกร้า และของใช้เบ็ดเตล็ด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหัตถกรรมเกี่ยวกับการก่อสร้าง ได้แก่ การผลิตวัสดุก่อสร้าง เช่น พวกศิลาแลง อิฐปูนสอ แลพวกตกต่าง เช่น กระเบี้องต่างๆ หัตถกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา มีการผลิต ถ้วยชาม ไหสี่หู โถสี่หู๔ มีฝาปิด และกระปุกต่างๆ ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบลวดลายให้สวยงาม และนำเทคนิคหรือกรรมวิธีด้านการผลิตมาใช้จนมีชื่อเสียง เรียกว่า เครื่องสังคโลก ได้รับความนิยมมาก แหล่งที่ผลิตเครื่องสังคโลก ที่สำคัญมีอยู่ 2 แห่ง คือ กรุงสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย ทั้งสองเมืองนี้ได้มีการขุดค้นพบเตาเผาเครื่องสังคโลก ซี่งเรียกว่า “เตาทัเรียง” เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองศรีสัชนาลัย มีการขุดพบเตาทุเรียงมากถึง 20 เตา จึงอาจถือได้ว่า เมืองศรีสัชนาลัยเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องสังคโลก การผลิตเครื่องสังคโลกในสมัยสุโขทัย นอกจากจะผลิตไว้ใช้เองในราชอาณาจักรแล้วยังได้ส่งไปขายยังต่างประเทศ เป็นสินค้าออกที่ทำรายได้ให้ประเทศอย่างหนี่ง ประเทศที่รับเชื้อเครื่องสังคโลกจากสุโขทัยมีหลายประแทศ เช่น มลายู ชวา และฟิลิปปินส์ เป็นต้น การค้าขาย การค้าขายสมัยสุโขทัยเป็ฯการค้าแบบเสรี ได้รับการส่งเสิรมาจากทางราชการมาก มีการยกเว้นภาษีผ่านด่าน ใครจะค้าขายสิ่งใดก็สามารถนำมาแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้ ทำให้ประชาชนมีความสุขสบายทั่วหน้ากัน ดังปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า ......... เมื่อชั่วพ่อาขุนรารมคำแหง..... เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูท่าง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใคร

การสิ้นสุดอาณาจักรอยุธยา

การสิ้นสุดของอาณาจักรอยุธยา อยุธยาซึ่งดำรงความเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ มีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่ พ.ศ. 1893 และได้ถึงวาระสิ้นสุด อันเนื่องมาจากพ่ายแพ้ต่อสงครามกับพม่าใน พ.ศ. 2310 อันมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ 1. ปัญหาภายในราชอาณาจักร ขุนนางมีการแบ่งพรรคพวกและแย่งชิงอำนาจกันตลอดเกือบทุกรัชกาล ปัญหาใหญ่ คือ การแย่งชิงราชสมบัติระหว่างวังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรกับผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อมานั่นเอง การดำรงตำแหน่งวังหน้าเป็นเวลานานตั้งแต่ต้นรัชกาลนั้น ทำให้สามารถสะสมอำนาจได้อย่างดี จึงมีผู้คนเป็นจำนวนมากให้การสนับสนุนวังหน้าแย่งชิงอำนาจกับวังหลวง ถือเป็นความอ่อนแอของราชวงศ์ 2. ปัญหาจากภายนอก พม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่อยุธยาต้องทำสงครามกันมาตลอด โดยเริ่มตั้งแต่ในสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้แห่งราชวงศ์ตองอู ที่มีกำลังทางทหารเข้มแข็งได้ขยายอำนาจ จนสามารถผนวกอาณาจักรล้านนาและมอญเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่า และการย้ายเมืองหลวงมายังหงสาวดี ทำให้อาณาเขตของพม่าอยู่ติดกับอาณาจักรอยุธยาและทำให้อยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่า เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2112 ในสมัยอยุธยาตอนปลายกษัตริย์พม่าราชวงศ์อลองพญาหรือราชวงศ์คองบองได้เข้ามารุกราดินแดนไทย อันเป็นสงครามต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2303 เมื่อพระเจ้าอลองพญายกทัพเข้ามายึดมะริดและตะนาวศรี ในครั้งนั้นพระเจ้าอลองพญาทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตระหว่างทางเสียก่อน ในปี พ.ศ. 2307 พระเจ้ามังระ พระโอรสของพระเจ้าอลองพญา จึงยกทัพเข้ามาโจมตีอาณาจักรอยุธยาอีกครั้ง เริ่มจากเข้ายึดทวาย มะริด และตะนาวศรีก่อน จากนั้นยกทัพเข้ามาตีเมืองตามรายทางที่กองทัพผ่าน คือ เชียงใหม่ ลำพูน และหัวเมืองฝ่ายเหนือของอาณาจักรอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2309 พม่าก็ยกทัพเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา และด้วยปัญหาภายในที่มีอยู่คือความแตกแยกของขุนนางซึ่งเป็นผู้ควบคุมกำลังไพร่พล นำมาซึ่งความไม่พร้อมในการรบ ทำให้อยุธยาพ่ายแพ้ต่อสงครามกับพม่าใน พ.ศ. 2310 การล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา ในฐานะนักเรียนไทย เราถูกสอนแบบกว้างๆว่า..พม่าข้าศึกยกทัพมาเผาเมือง คนไทยไม่สามัคคีกัน จึงพ่ายแพ้หมดรูป ..ก็เท่านั้น แต่ในฐานะประชาชนไทย.. เกิดคําถามตามมาอีกว่า แล้วอะไรทําให้คนไทยยุคนั้น"ต้องไม่สามัคคีกัน" ?? ประเด็นนี้ขออ้างอิงงานเขียนของอาจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งบุคคลผู้นี้ได้ศึกษาประวัติศาสตร์มาเป็นเวลานาน มีงานเขียนสําคัญตีพิมพ์มากมาย หลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวการเมืองในสมัยพระนารายณ์มหาราช การเมืองในสมัย พระเจ้ากรุงธนบุรี และอื่นๆอีกมาก ล้วนแต่เชื่อมโยงเป็นประเด็นเดียวกันทั้งสิ้น สามารถหา ซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไป เพื่อวิเคราะห์ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม มีหลายเรื่องหลายประเด็นน่าสนใจ เมื่อเทียบเคียงกับสถานการณ์ บ้านเมืองปัจจุบัน นับแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จนถึงวิกฤติเศรษฐกิจและ โรคระบาด ไปจนถึงศึกสงครามคุกรุ่นตามแนวชายแดนในปี 2552 คือกรุงศรีอยุธยาของเรามีการปรับปรุงระบบราชการมาหลายครั้งหลายหน ตามสถานการณ์ ในแต่ละยุคสมัย แต่ปัญหาหลักปัญหาใหญ่เรื้อรังมาแต่ต้นอาณาจักรคือ"อํานาจของหัวเมือง" รัฐบาลกลางยามอ่อนแอมีปัญหา จะปราศจากอํานาจควบคุมหัวเมืองสําคัญไว้ได้ จึงจําต้องมี ระบบรวมศูนย์อํานาจไว้ที่เมืองหลวง และต้องเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ได้ต่อเนื่อง ไม่ว่าใครจะ ขึ้นมาเป็นพระมหากษัตริย์ ระบบที่ว่านี้เริ่มลงตัวในสมัยของพระเอกาทศรถ ซึ่งสืบเนื่องมาจาก การวางระบบในสมัยพระนเรศวรมหาราช ล่วงเลยถึงราชวงศ์บ้านพลูหลวง ระบบปฏิบัติการนี้เริ่มส่งผลข้างเคียง และบังเอิญว่าไม่มีการ ยกเครื่องให้เข้ากับสถานการณ์โลก(ในยุคนั้น) ความเข้มแข็งของ"ศูนย์กลาง" คืออยุธยา ตามระบบเดิมนั้น กลับสร้างความอ่อนแอให้กับหัวเมืองอย่างที่สุด และผลข้างเคียง ในระยะยาว คือความไม่ใยดีของประชาชน เมื่อส่วนกลางเริ่มเกิดอาการอ่อนแอ หัวเมืองที่อ่อนแออยู่แล้วก็ยิ่งแย่ลงไปอีก แม้แง่ดีคือไม่ฉวยโอกาสแข็งข้อกับส่วนกลาง เพราะไม่อยู่ในสภาพจะแข็งข้อได้ แต่ก็มิได้เป็นประโยชน์อันใดต่ออาณาจักร.. ระบบนี้แก้ปัญหาเรื่องหัวเมืองเกเร แต่ตลอดเวลาไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องรัฐประหารในเมืองหลวง การรัฐประหารในเมืองหลวงจะใช้กําลังทหารไม่มาก เป็นการยึดอํานาจกันภายใน ด้วยกําลังเพียง หยิบมือ (ยกเว้นการยึดอํานาจของพระเพทราชาที่แตกต่างออกไป) คือในสมัยอยุธยา ไม่มีกองทหารประจําการมืออาชีพจริงๆ เป็นลักษณะของกองทัพประชาชน หรือทัพไพร่ .. ผู้คนในแผ่นดิน หรือในเขตอิทธิพลของรัฐ จะต้องมีการสังกัดไพร่ จะเป็นไพร่หลวง (ไพร่ของส่วนกลาง) หรือไพร่สม (ไพร่ของขุนนาง) ผู้คนส่วนมากนิยมเป็นไพร่สม เพราะไพร่หลวงนั้นงานหนักและไม่มีเจ้านายคอยคุ้มกะลาหัว ไพร่สมอยู่กับขุนนาง งานหนักบ้างเบาบ้างก็ยังมีเจ้านายคอยดูแลจริงๆ อีกทางเลือกหนึ่งคือ ไปเป็น"ทาส" บางคนชอบเป็นทาสมากกว่าเพราะสบาย ทาสอยู่ติดเจ้านายตลอดชีวิต เป็นทาสกันจนถึงลูกหลาน ไม่ต้องดิ้นรน ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานนอกระบบ เพราะทาสคือ ทรัพย์สินของนาย แต่ไพร่ยังมีฐานะเป็นผู้คนทั่วไป ชีวิตเหลือจากการถูกเกณฑ์แรงงาน ก็ต้อง ดิ้นรนต่อสู้เอาเอง คราวนี้ ขุนนางมีศักดินา..ก็มีไพร่ในสังกัดกันทั้งนั้น เรียกว่ามีตําแหน่งก็จะได้มีไพร่พลเข้ามา ด้วย เป็นกองทัพน้อยๆของตนเอง ..เวลายึดอํานาจ-รัฐประหารก็จะซ่องสุมไพร่พลของตน มาเป็นกําลัง ปัญหาคือไพร่ไม่ใช่ทหารประจําการ ใช้งานที่ต้องเรียกเกณฑ์ ระดมพลกว่าจะได้ พร้อมหน้าพร้อมตาก็ฟาดเข้าไปสองสามเดือน จากจุดอ่อนของระบบตรงนี้ พระมหากษัตริย์ แต่ละพระองค์จึงต้องมีกองทหารรับจ้าง ส่วนมากเป็นคนต่างชาติ เป็นฝรั่ง ญี่ปุ่น แขก จีน.. ตามแต่รสนิยมของแต่ละพระองค์ กองทหารรับจ้างประจําการอยู่ทุกวัน ไม่อยู่ในระบบไพร่ ใครจ่ายเงินให้คนนั้นก็เป็นนายจ้าง(ชั่วคราว) จึงปลอดภัยที่จะใช้งานมากกว่าคนไทยด้วยกัน (ซึ่งไม่มีทางรู้ว่าใครแอบปันใจไปให้ขุนนางคนไหนบ้าง) ขณะที่หัวเมืองอ่อนแอลงไปเรื่อยๆตามกาลเวลา ระบบส่วนกลางก็เริ่มเสื่อมสลายตามไปด้วย จนท้ายที่สุด ปลายราชวงศ์บ้านพลูหลวง เกิดปัจจัยภายนอก..เข้ามาสะกิดระบบที่เสื่อมสลาย ให้กลายเป็น"การล่มสลายที่สมบูรณ์" นั่นคือมหาอํานาจจากทิศตะวันตก..คือ พม่า พม่าเพิ่งฟื้นฟูอาณาจักรขึ้นมาใหม่ และตัดสินใจทําลาย"ปัจจัย"ที่มีส่วนสนับสนุนให้พม่าต้อง ล่มสลายไปเมื่อครั้งก่อน ปัจจัยที่ทําให้พม่าต้องรบพุ่งกับมอญ ไทยใหญ่อยู่นานนับศตวรรษ.. ปัจจัยหลักที่ว่าคือ..กรุงศรีอยุธยา ว่าแล้วจึงพากันยกพวกมาเผาเมืองอยุธยาให้สูญสิ้นไปเสีย หากในภาวะปกติ คงรบกันยืดเยื้อยาวนาน จนพม่าอาจอ่อนแรงจนต้องถอยทัพกลับไปเอง เพราะการเมืองระหว่างประเทศของไทยยุคนั้นมีความเชี่ยวชาญในการยุยงให้เพื่อนบ้านตีกัน เอง จนไม่มีเรียวแรงมายุ่งกับเรา ..แต่ในสภาพเสื่อมสลายของระบบภายใน จึงไม่มีการออก อาวุธลับทางการเมือง ..ในสภาพหัวเมืองอ่อนแอ ทัพพม่าสามารถตีไล่มาเรื่อย รวดเร็ว จนถึงกําแพงถึงกําแพงกรุงศรีฯ ..ตรงนี้แหละที่เป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงความเสื่อมของระบบ ไม่ใช่ว่าหัวเมืองไม่สู้ แต่ไม่มีอะไรจะเอาไปสู้กับข้าศึก ด้วยกําลังน้อยนิด จึงคิดปกป้องเมือง ของตนเอง มากกว่าที่จะละทิ้งพื้นที่..เพื่อมาปกป้องอยุธยา ทางเลือกของเจ้าเมืองต่างๆมีไม่ มากนัก คือยอมแพ้พม่า..แล้วไปเป็นพวกเดียวกับมัน หรือรักษากําลังไพร่พลตนเองไว้ แล้ว วางตัวเป็นกลาง..ตั้งตนเป็นรัฐอิสระไปเลย (เป็นที่มาของชุมนุมต่างๆ) หรือท้ายสุดสําหรับ ขุนนางที่ไม่มีกําลังไพร่พลมากนัก ถึงไปเข้ากับพม่าก็ไม่มีทางรุ่งเรือง (เพราะไม่มีกําลังพล มากเพียงพอที่จะทําผลงานอะไรได้) จะรักษาเมืองตัวเองไว้ก็ยาก เพราะยังไงก็แพ้แน่ๆ ทางเลือกของกลุ่มสุดท้ายนี้คือต้องลงมาช่วยอยุธยารบกับพม่า แล้วค่อยคิดอ่านกันต่อไป.. เป็นการรักษากําลังพลที่ดีที่สุดของกลุ่มสุดท้าย .. การตัดสินใจเหล่านี้สําหรับคนในอดีต ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร เพราะยุคนั้นไม่มีคําว่า"ชาติ" คําว่า"ชาติ"เป็นแนวคิดใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19ในโลกตะวันตก ในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม(และทุนนิยม) คนไทยเพิ่งรู้จักคําว่าชาติก็หลังจากที่ ฝรั่งคิดขึ้นมาได้ไม่นาน คือช่วงรัชกาลที่ 5 ที่ 6 เรานี่เอง ดังนั้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นเรื่องของอาณาจักร เรื่องของความผูกพันกับส่วนกลาง ..เมื่อความผูกพันทางการเมือง ทางการทูต ทางอํานาจและเศรษฐกิจไม่มีเหลือ ..ก็ทางใครทางมัน ปรากฏการณ์บ่งชี้ความเสื่อมสลายของระบบอีกหนึ่งคือ การต่อสู้ของชาวบางระจัน ชาวบ้านชุมนุมบางระจัน..คือผู้คนอิสระที่รวบรวมกันต่อสู้กับพม่า เพื่อรักษาถิ่นฐานของตน และต่อสู้อย่างกล้าหาญจนเป็นตํานานเล่าขาน .. คําถามทางประวัติศาสตร์คือ พวกเขามาจากที่ไหนกันบ้าง .. ก็มาจากพื้นที่ใกล้เคียงในภาคกลางปัจจุบันนี้เอง คําถามต่อไปคือพื้นที่เหล่านั้น อยู่ห่างกรุงศรีอยุธยาเพียงนิดเดียว แล้ว"คนอิสระ"เหล่านี้ ..เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?? นอกเสียจากเป็นผู้คนที่ไม่ยอมเข้าระบบไพร่มาตั้งแต่ต้น เพราะถ้ามีสังกัด..ก็ต้องมีนาย แล้วถ้ามีเจ้านาย พวกเขาก็ต้องอยู่กับเจ้านายต้นสังกัด ผู้คนที่ป้วนเปี้ยนไม่ไกลจากกรุงศรีฯ ไม่มีสังกัด แล้วยังรวมกันจนรบชนะพม่าหลายครั้ง !!.. นี่เท่ากับว่าระบบเกณฑ์ไพร่ของอยุธยาตอนปลายคงจะล่มสลายไปได้พักใหญ่ๆแล้ว ก่อนที่พม่าจะเข้ามาด้วยซํ้า ระบบไพร่ซึ่งเป็นหัวใจสําคัญของระบบกลไกทั้งมวลในอาณาจักร แล้วทําไมขุนนางหรือส่วนกลางไม่สามารถจัดการกับ"คนอิสระ" ที่ไม่มีสังกัดเหล่านี้ได้ ทั้งที่มีโทษถึงตายทีเดียว .. ก็พอจะสันนิษฐานได้ว่า-- รัฐไม่มีอํานาจพอที่จะไปบังคับใครได้..พักใหญ่ๆแล้วด้วย พูดง่ายๆคือคนไม่เชื่อ ไม่ฟัง ไม่กลัว ไม่ใยดีกับส่วนกลาง ระบบใดนั้น..ย่อมอยู่ด้วยความเชื่อถือศรัทธาและความรัก ไม่มีความรู้สึกเหล่านี้หลงเหลือ ระบบนั้นย่อมล่มสลายไปเอง พระยาตาก..หรือพระเจ้าตากสินมหาราช วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาลของประชาชนไทย ยกกองทัพทหารจีนไม่กี่ร้อยคน มาตั้งค่าย ป้องกันกรุงศรีฯอยู่นอกกําแพงเมือง อยู่ได้ไม่นาน ท่านก็ตัดสินใจทิ้งกรุงศรีอยุธยา พาไพร่พล ไปทางตะวันออก ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์.. แม้ตอนนั้นอยุธยายังไม่แตก แต่ก็ไม่มีอนาคตหลงเหลืออีกแล้ว เรียกว่าระบบล่มสลายอย่าง สมบูรณ์ ทุกคนจึงมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะรักษาชีวิตประชาชนของตนเอง ขณะเดียวกันทาง ฝั่งตะวันออก ชลบุรี ศรีราชาแถบๆนั้น เขาก็แยกตัวเป็นรัฐอิสระกันไปนานแล้วเช่นกัน เมื่อ พระเจ้าตากยกทัพไปถึง..จึงต้องเจรจากับผู้นําท้องถิ่น เพื่อไม่ต้องฆ่ากันให้ตาย ทั้งหมดนี้ ไม่เกี่ยวกับคนไทยไม่สามัคคี ไม่ใช่ว่าคนไทยไม่กล้าหาญ เพราะคนที่เขาทิ้งกรุงศรีอยุธยาและราชวงศ์บ้านพลูหลวงอย่างปราศจากเยื่อใย คนเหล่านั้นกลับยอมสู้ตายถวายชีวิต..เพื่อพระเจ้าตากสิน พูดภาษาชาวบ้านง่ายๆก็คือ ผู้คนเขาเกลียดคนหนึ่งแต่รักอีกคนหนึ่ง พูดภาษาชาวบ้านง่ายๆก็คือ ผู้คนเขาไร้เยื่อใยไร้ศรัทธากับคนหนึ่ง แต่มีหัวใจให้อีกคนหนึ่ง คนหนึ่ง..คือผู้ครองอาณาจักรแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง อีกคนแค่ข้าราชการธรรมดา เป็นแค่ พ่อค้ากองเกวียนเชื้อสายจีน ..คนหนึ่ง..ผู้คนด่าสาบแช่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2310 จนถึง 2552 อีกคนหนึ่ง มีประชาชนยอมตายถวายชีวิตให้ ยังเป็นวีรบุรุษในใจประชาชนมาถึงปัจจุบัน ว่าง่ายๆก็คือ คนไทยรักใคร่สามัคคี และกล้าหาญเป็นปกติ เขาแค่ไม่ยอมเปลืองตัวให้กับคนที่เขาไม่รักเท่านั้น ..กรุงศรีอยุธยาล่มสลายเพราะคนไม่รัก ก็เป็นบทเรียนกับคนไทยปัจจุบัน และเหล่าอมาตยาธิปไตยทั้งหลาย ระบบใดนั้น..ย่อมอยู่ด้วย ความเชื่อถือศรัทธาและความรัก ไม่มีความรู้สึกเหล่านี้หลงเหลือ ระบบนั้นย่อมล่มสลายไปเอง "กรุงศรีอยุธยาล่มสลายเพราะคนไม่รัก" ก็อย่าให้มีคนเกลียดชังไปมากกว่านี้ อย่าดูถูกประชาชนมากไปกว่านี้

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การล่มสลายของอาณาจักรยุธยา

การล่มสลายของอาณาจักรอยุธยา กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรของคนไทยเป็นระยะเวลายาวนาน 417 ปี (พ.ศ.1893-2310) พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา คือ พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 อาณาเขตของกรุงศรีอยุธยาแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางมากที่สุด ในรัชสมัยของพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133-2148) อาณาจักรกรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การค้าขายและการเจริญไมตรีกับต่างประเทศ ในรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.2199-2231) ความเสื่อมของอยุธยา กรุงศรีอยุธยาเสียเอกราชให้แก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราชเมื่อพ.ศ.2112 และครั้งที่ 2 ในรัชสมัย สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) เมื่อ พ.ศ.2310 สาเหตุการเสื่อมอำนาจของกรุงศรีอยุธยา * ความเสื่อมอำนาจทางการเมือง มีการแก่งแย่งชิงอำนาจใหม่ในหมู่ขุนนางข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์อยู่เนืองๆ มีการกำจัดศัตรูทางการเมือง ทำให้กำลังทหารถูกบั่นทอนความเข็มแข็งลงไปมาก * ความอ่อนแอของพระมหากษัตริย์ พระเจ้าเอกทัศน์ทรงขาดความสามารถในด้านการเป็นผู้นำ กองทหารไม่ได้รับการฝึกฝนให้เตรียมพร้อมในการทำศึกสงคราม และมีปัญหาวินัยหย่อนยาน * การที่ไทยว่างเว้นจากสงครามมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความประมาทในการป้องกันพระราชอาณาจักร ขาดการฝึกปรือกำลังทัพและการวางแผนการยุทธที่ดี ทำให้เกิดความไร้ประสิทธิภาพในการทำสงครามป้องกันพระนคร เมื่อพม่ายกกำลังมาล้อมกรุงศรีอยุธยาก่อนจะเสียกรุงใน พ.ศ.2310 * พม่าเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ไปจากเดิม คือ ยกทัพกวาดต้อนผู้คน สะสมเสบียงอาหารลงมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือและขึ้นมาจากหัวเมืองฝ่ายใต้ ตัดขาดหัวเมืองรอบนอกมิให้ติดต่อและช่วยเหลือเขตราชธานีได้ และพร้อมที่จะรบตลอดทั้งปี โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นฤดูฝนหรือฤดูน้ำหลาก ซึ่งแผนยุทธศาสตร์นี้ต่างไปจากเดิมที่มักจะยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์และ เข้ามาทางเดียว และเมื่อถึงฤดูน้ำเหนือหลากลงมาท่วมก็ยกทัพกลับ ทำให้ไทยวางแผนการตั้งรับผิดพลาดหมด * กรุงศรีอยุธยาถูกปิดล้อมทางเศรษฐกิจโดยกองทัพพม่า ทั้งจากทางเหนือและใต้ รวมทั้งต้องทำศึกระยะยาวนานนับปี ทำให้กรุงศรีอยุธยาเกิดขาดแคลนเสบียงอาหารอันนำไปสู่ความอ่อนแอต่อกำลังทัพ และผู้คนของไทย ในขณะที่ไทยกับพม่ากำลังทำสงครามอยู่นั้น พระยาตาก เกิดความท้อใจในการรบ เพราะขาดความคล่องตัวในการตัดสินใจ และสถานการณ์รบที่อยุธยาอยู่ในวิกฤตอย่างหนัก ถ้าหนีไปตั้งหนักที่อื่นก็อาจมีโอกาสกลับมากอบกู้สถานการณ์ได้ ดังนั้นพระยาตากจึงรวบรวมกำลังพลได้ประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมของพม่าไปเส้นทางตะวันออก สาเหตุที่พระยาตากเลือกเส้นทางตะวันออก * เส้นทางดังกล่าวปลอดจากการคุกคามของพม่า ทำให้ง่ายต่อการสะสมและรวบรวมทั้งผู้คน , อาวุธและเสบียงอาหาร * สามารถค้าขายบริเวณหัวเมืองชายทะเลทั้งด้านอาหาร อาวุธ กับพ่อค้าชาวจีนได้ การทำสงครามขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา หลังจากที่พระยาตากได้ตั้งตนเป็นใหญ่ที่ระยองและจันทบุรี และสะสมเสบียงอาหาร อาวุธ ผู้คนได้มากแล้ว จึงตัดสินใจยกทัพเรือจากจันทบุรีสู่อยุธยาเพื่อกอบกู้เอกราช โดยยกกองทัพเรือเข้ามาถึงสมุทรปราการ แล้ว พระยาตากนำกำลังกองทัพเรือเข้ายึดเมืองธนบุรี เมืองหน้าด่านที่พม่าให้นายทองอิน คนไทยรักษาอยู่ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2310 ซึ่งได้รับชัยชนะโดยง่ายแล้ว พระยาตากก็ยกทัพตามโจมตีกองทัพพม่าไปจนถึงค่ายโพธิ์สามต้น ที่สุกี้พระนายกองของพม่ารักษาการณ์อยู่ และสามารถตีค่ายของพม่าแตก พร้อมทั้งขับไล่ทหารพม่าออกจากอยุธยาและยึดกรุงศรีอยุธยา คืนได้ภายในเดือนเดียวกัน รวมเวลาในการกอบกู้เอกราชเพียง 7 เดือน พระยาตากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ เมื่อขับไล่พม่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยาและกอบกู้เอกราชให้แก่คนไทยแล้ว พระยาตากได้เลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยไม่ทรงเลือกกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีหรือเมืองหลวง เหตุผลที่ไม่เลือกกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี * ความเสียหายย่อยยับจากสงคราม ยากแก่การบูรณะปฏิสังขรณ์ * มีอาณาเขตกว้างใหญ่เกินกำลังไพร่พลของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่จะรักษา * ข้าศึกรู้เส้นทางเดินทัพ รู้สภาพภูมิประเทศของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี * ทำเลที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากทะเลมากเกินไป ไม่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ความเหมาะสมของกรุงธนบุรีเป็นราชธานี * กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะกับไพร่พลในขณะนั้น * ทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเล สะดวกแก่การค้าขายกับต่างประเทศ และสามารถเคลื่อนทัพเรือกลับสู่เมืองจันทบุรีได้สะดวก เมื่อถึงคราวคับขัน * มีป้อมปราการที่มั่นคงแข็งแรง คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ และ ป้อมวิไชยเยนทร์ใช้ป้องกันข้าศึกได้ดี * ความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหาร มีดินดี น้ำอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ * ที่ตั้งทางยุทธศาสตร์เป็นเมืองหน้าด่าน ควบคุมการเดินเรือทะเลที่เข้าออกปากอ่าวไทย จึงเท่ากับช่วยควบคุมหัวเมืองเหนือใต้ให้ต้องพึ่งกรุงธนบุรี ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการซื้ออาวุธจากต่างประเทศ การสร้างความเป็นปึกแผ่นทางการเมือง ภายหลังจากสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสร้างความมั่นคง เป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศชาติ ดังนี้ 1. การสร้างขวัญและกำลังใจแก่ทหารและประชาชน * การปูนบำเหน็จแก่แม่ทัพนายกอง โดยเฉพาะสองพี่น้องผู้ที่เป็นกำลังสำคัญคือ พระราชวรินทร์ (ทองด้วง) และพระมหามนตรี(บุญมา) * การแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน โดยการซื้อข้าวสารและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มแจกจ่ายประชาชนที่อดอยากและขาดแคลน กระตุ้นให้ราษฏรที่หลบซ่อนตามป่าเขาให้กลับสู่มาตุภูมิลำเนาเดิม กำลังของบ้านเมืองจึงเพิ่มมากขึ้น 2. การฟื้นฟูบ้านเมืองให้กลับคืนสู่ปกติ * การรวบรวมกำลังคนให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน สนับสนุนให้ผู้คนที่หลบหนีภัยสงครามตามท้องที่ต่างๆ ให้มารวมกันในราชธานี เพื่อประโยชน์ในการเกณฑ์กำลังคนในยามศึกสงครามและการก่อสร้างราชธานีใหม่ * การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะการค้าทางเรือสำเภากับจีน มีพ่อค้าชาวจีนเข้ามาค้าขายในไทยมากกว่าชาติอื่นๆ นอกจากนี้ ยังทรงสนับสนุนให้ขุนนางคุมกำลังไพร่พลไปทำนารอบๆ พระนคร เพื่อเพิ่มผลผลิต * การฟื้นฟูทางสังคม มีการฟื้นฟูระบบไพร่ที่เคยมีในสมัยอยุธยาขึ้นใหม่ โดยการสักข้อมือไพร่ทุกกรมกองเรียกว่า กฏหมายสักเลก เพื่อประโยชน์ในการเกณฑ์แรงงานและการป้องกันประเทศ และป้องกันการหลบหนีของไพร่อีกด้วย 3. การปราบปรามชุมนุมคนไทย เพื่อรวบรวมอาณาจักรคนไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ภายหลังที่ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว จึงทรงดำเนินการปราบปรามชุมนุมคนไทยที่ไม่ยอมอ่อนน้อมทั้ง 4 ชุมนุมในช่วงพ.ศ.2311-2313 ดังนี้ * ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก กองทัพธนบุรียกกำลังไปปราบเป็นชุมนุมแรกแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาถูกชุมนุมพระฝางตีแตกและผนวกเข้ากับชุมนุมของตน * ชุมนุมเจ้าพิมาย กรมหมื่นเทพพิพิธผู้นำชุมนุมไม่ยอมอ่อนน้อม จึงถูกกองทัพธนบุรีปราบ เป็นผลให้ดินแดนภาคอีสานตกอยู่ภายใต้อำนาจของราชธานีตั้งแต่นั้นมา * ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เจ้านครไม่สามารถต้านทานกำลังกองทัพบกและกองทัพเรือจากกรุงธนบุรีได้ อาณาเขตของกรุงธนบุรีจึงแผ่ขยายไปถึงหัวเมืองปักษ์ใต้ * ชุมนุมเจ้าพระฝาง หัวหน้าชุมนุมเป็นพระสงฆ์ที่ทรงคุณไสยและเป็นชุมนุมสุดท้ายที่ปราบปรามสำเร็จในปี พ.ศ.2313 ทำให้ได้หัวเมืองเหนือไว้ในพระราชอาณาเขต 4. การทำสงครามต่อต้านการรุกรานของพม่า ตลอดสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีไทยต้องทำสงครามกับพม่า เพื่อป้องกันเอกราชรวมถึง 9 ครั้ง ครั้งที่สำคัญที่สุดคือ ศึกอะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318 5. การทำสงครามขยายอาณาเขต ในสมัยกรุงธนบุรี กองทัพไทยยกไปตีกรุงกัมพูชาเป็นประเทศราชใน พ.ศ.2314 และหัวเมืองล้านนาและลาว ใน พ.ศ.2317

พัฒนาการทางการเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พัฒนาการทางการเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 1-3 (สมัยฟื้นฟูประเทศ พ.ศ.2325-2394) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2325 และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีใหม่จากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออก(ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้า พระยา)และสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานีขึ้น ณ ที่แห่งนี้ เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงย้ายราชธานี * พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้งสองด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง)และวัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง * ความไม่เหมาะสมด้านภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตกหรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้ง อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก(กรุงเทพ)เป็นแหลมพื้นดินจะงอกอยู่เรื่อยๆ * ความไม่เหมาะสมในการขยายเมืองในอนาคต พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้างขวาง สามารถขยายตัวเมืองไปทางเหนือและตะวันออกได้ * กรุงธนบุรีไม่เหมาะทางด้านทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ กล่าวคือ มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลาง เปรียบเสมือนเมืองอกแตก เมื่อใดข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำก็สามารถตีถึงใจกลางเมืองได้ง่าย เมืองหลวงใหม่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บริเวณ เมืองหลวงใหม่ เดิมเรียกว่า บางกอก หรือปัจจุบันคือกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใหม่ของไทย สร้างขึ้นโดยเลียนแบบอยุธยา กำหนดพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนคือ * บริเวณพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า วัดในพระบรมมหาราชวัง(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)และรวมทั้งทุ่งพระสุเมรุท้องสนามหลวง * บริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง อาณาเขตกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการสร้างขึ้นตามแนวคลองรอบกรุง ได้แก่ คลองบางลำภู และคลองโอ่งอ่าง * บริเวณที่อยู่อาศัยภายนอกกำแพงเมือง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีบ้านเรือนราษฏรตั้งอยู่ด้านนอกของคลองรอบกรุง มีคลองขุดในรัชกาลที่ 1คือ คลองมหานาค การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้ * การปกครองส่วนกลาง มีเสนาบดีทำหน้าที่บริหารราชการ ได้แก่ o สมุหกลาโหม มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ทั้งทหารและพลเรือน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง o สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการทหารและพลเรือนเทียบเท่ากระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยาจักรี หรือเจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง o เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองลงมา ประกอบด้วย –กรมเวียง หรือกรมเมือง เสนาบดี คือ พระยายมราช มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร –กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ -กรมคลังหรือกรมท่า เสนาบดี คือ พระยาราชภักดี, พระยาศรีพิพัฒน์ หรือพระยาพระคลังมีหน้าที่ด้านการเงิน การคลัง และการต่างประเทศ -กรมนา เสนาบดี คือ พระยาพลเทพ มีหน้าที่ดูแลไร่นาหลวง และเก็บภาษีข้าว * การปกครองส่วนภูมิภาค หรือการปกครองหัวเมือง o หัวเมืองฝ่ายเหนือ (รวมทั้งหัวเมืองอีสาน)อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายเหนือแบ่งฐานะตามระดับความสำคัญ ดังนี้ -หัวเมืองชั้นใน(หัวเมืองจัตวา) อยู่ไม่ห่างไกลจากราชธานี มีเจ้าเมือง หรือ “ผู้รั้ง”เป็นผู้ปกครอง -หัวเมืองชั้นนอก(เมืองชั้นตรี โท เอก) มีขุนนางชั้นสูงหรือพระบรมวงศานุวงศ์เป็นผู้ปกครอง ได้แก่ เมืองพิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร ฯลฯ o หัวเมืองฝ่ายใต้ อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม นับตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไปจนถึงนครศรีธรรมราช ไชยา พังงา ถลาง และสงขลา เป็นต้น มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกทั้งสิ้น o หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย เป็นหัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฯลฯ อยู่ในความรับผิดชอบของพระคลังหรือกรมท่า * การปกครองประเทศราช o ฐานะของประเทศราช คือ เมืองของชนต่างชาติต่างภาษา มีกษัตริย์ของตนเองเป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนดและส่งทหารมาช่วยเมื่อเมืองหลวงมีศึกสงคราม o ประเทศราชของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีทั้งดินแดนล้านนา ลาว เขมรและหัวเมืองมลายู ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงแสน หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ เขมร ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ฯลฯ การปรับปรุงกฏหมายและการศาล * กฏหมายตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้รวบรวมและชำระกฏหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และคัดลอกไว้ 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และตราบัวแก้ว จึงเรียกว่ากฏหมายตราสามดวง * กฏหมายตราสามดวง หรือประมวลกฏหมายรัชกาลที่ 1 ใช้เป็นหลักปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการปฏิรูปกฏหมายไทยและการศาลให้เป็นระบบสากล การเมืองการปกครองยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก การรับอารยธรรมตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 4 ทรงมีโอกาสได้ศึกษาความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ของประเทศตะวันตก ตั้งแต่ในครั้งที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ โดยเฉพาะการศึกษา ภาษาละติน และภาษาอังกฤษ อีกทั้งมีโอกาสได้คุ้นเคยกับพ่อค้าชาวตะวันตก จึงทำให้ทรงทราบสถานการณ์ของโลกในขณะนั้นเป็นอย่างดี แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เกี่ยวกับสถานการณ์ของโลกในขณะนั้น สรุปได้ 2 ประการ คือ ความเจริญก้าวหน้าในความรู้และวิทยาการของโลกตะวันตก เป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับบ้านเมือง จึงสมควรที่คนไทยจะได้เรียนรู้ไว้ การเผชิญหน้ากับภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ประเทศมหาอำนาจตะวันตกกำลังแผ่ขยายอิทธิพลเข้ารุกรานในอินเดีย จีน และพม่าสมควรที่ไทยต้องเร่งรีบปรับปรุงประเทศให้เข้มแข็งและเจริญก้าวหน้า เพื่อป้องกันมิให้ถูกบีบบังคับหรือข่มเหงเหมือนประเทศอื่นๆ นโยบายของไทยที่มีต่อลัทธิจักรวรรดินิยม ลัทธิจักรวรรดินิยม คือ การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก มักจะเริ่มต้นด้วยการติดต่อเข้ามาค้าขายก่อน ต่อมาจึงอ้างความไม่เป็นธรรมที่ได้รับ หรือความล้าหลังด้อยพัฒนาความเจริญของประเทศนั้นๆ และใช้กำลังเข้าควบคุมหรือยึดครองเป็นอาณานิคมในที่สุด การใช้กำลังเข้าต่อสู้มีแต่จะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากยิ่งขึ้น ดังนั้น รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 จึงทรงใช้พระบรมราโชบายเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติ ดังนี้ * การผ่อนหนักเป็นเบา หมายถึง การโอนอ่อนผ่อนตามให้ชาติมหาอำนาจเป็นบางเรื่อง คือการยอมทำสัญญาเสียเปรียบ จะเห็นได้จากการทำสนธิสัญญาเบาริง ระหว่างไทยกับอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่มาก * การยอมเสียดินแดน สมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ไทยเสียดินแดนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส ตามนโยบายเสียส่วนน้อย เพื่อรักษาส่วนใหญ่ * การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย เพือมิให้มหาอำนาจตะวันตกใช้เงื่อนไขความล้าหลังด้อยพัฒนาของไทย เป็นข้ออ้างใช้กำลังเข้ายึดเป็นเมืองขึ้น และนำความเจริญมาสู่ชาวพื้นเมืองอาณานิคม เหมือนดังที่ทำกับทวีปแอฟริกา การปฏิรูปความเจริญของบ้านเมืองครั้งสำคัญเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งด้านการปกครอง กฏหมาย การทหาร ฯลฯ * การเจริญไมตรีกับประเทศมหาอำนาจยุโรป รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจตะวันตก ช่วยถ่วงดุลอำนาจมิให้ชาติใดชาติหนึ่งมาข่มเหงบีบคั้นไทย จึงเป็นวิธีการรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติอีกทางหนึ่ง

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรของคนไทยที่ได้รับการสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 1792 ก่อนหน้าที่จะมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมานั้น สุโขทัยเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน จากการตีความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (วัดศรีชุม) พอจะสรุปความได้ว่า เมืองสุโขทัยแต่เดิมมีผู้นำคนไทยชื่อ พ่อขุนศรีนาวนำถุม เป็นเจ้าเมืองปกครองอยู่ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ ขอมสบาดโขลญลำพง ขุนนางขอมได้นำกำลังเข้ายึดกรุงสุโขทัยไว้ได้ เมื่อพวกขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลง ในปี พ.ศ. 1780 ได้มีผู้นำ 2 ท่าน คือ พ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมือง ซึ่งเป็นผู้นำคนไทยได้ร่วมมือกันรวบรวมกำลังเข้าขับไล่ขอมออกจากดินแดนแถบนี้และตั้งตนเป็นอิสระ พร้อมกับสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของอาณาจักรไทย และได้สถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงสุโขทัยทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ นับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุโขทัยหรือราชวงศ์พระร่วง นับตั้งแต่ พ.ศ. 1792 เป็นต้นมา ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยเป็นราชธานี มีดังนี้ 1. ปัจจัยภายใน ได้แก่ การมีขวัญและกำลังใจดีของประชาชนเนื่องจากมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีความสามารถ การมีนิสัยรักอิสระ ไม่ชอบให้ผู้ใดมากดขี่ข่มเหง บังคับและบ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ 2. ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเสื่อมอำนาจของขอม หลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สิ้นพระชนม์ลง กษัตริย์องค์ต่อมาไม่สามารถรักษาอำนาจของตนในดินแดนที่ยึดครองมาได้ ทำให้หัวเมืองต่าง ๆ พากันตั้งตนเป็นอิสระ ระยะเริ่มต้นของการสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยเฉพาะในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ บ้านเมืองยังไม่มั่นคงมากนัก คนไทยยังอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย บางเมืองยังคงมีอิสระในการปกครองตนเอง ไม่มีการรวมอำนาจไว้ ณ ศูนย์กลางเมืองใดเมืองหนึ่งโดยตรง บางครั้งจึงมีการทำสงครามกันเพื่อแย่งชิงอำนาจและขยายอาณาเขตของเมือง เช่น ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพมาตีเมืองตาก เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พ่อขุนบานเมือง ได้ขึ้นครองราชย์ สมัยนี้สุโขทัยได้ขยายอำนาจทางการเมืองด้วยการทำสงครามกับหัวเมืองต่าง ๆ โดยมีพระอนุชา คือ พระรามคำแหง เป็นกำลังสำคัญ ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพ่อขุนบานเมือง ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระองค์ทรงเป็นแม่ทัพไปปราบเมืองต่าง ๆ จนเป็นที่เกรงขามของอาณาจักรอื่น ๆ ดังนั้นเมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์จึงมีหลายเมืองที่ยอมอ่อนน้อมเข้ารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมิได้ส่งกองทัพไปรบ ได้แก่ เมืองหงสาวดี เมืองสุพรรณบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี เมืองหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทน์ และเมืองนครศรีธรรมชาติ ทำให้อาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตแผ่ขยายออกไปกว้างขวางมาก ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ดังนี้ ทิศเหนือ ครอบคลุมเมืองแพร่ น่าน พลัว จนถึงเมืองหลวงพระบาง ทิศใต้ ครอบคลุมเมืองคณฑี (กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) แพรก (ชัยนาท) สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช จนถึงแหลมมลายู ทิศตะวันออก ครอบคลุมเมืองสระหลวงสองแคว (พิษณุโลก) ลุมบาจาย (หล่มเก่า) สระคา และข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเมืองเวียงจันทน์และเวียงคำ ทิศตะวันตก ครอบคลุมเมืองฉอด หงสาวดี จนถึงชายฝั่งทะเลด้านอ่าวเบงกอล ขณะเดียวกันพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้หลักธรรมในการปกครองเพื่อให้ประชาชนได้อยู่เย็นเป็นสุข ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เจ้าเมืองต่าง ๆ เหล่านี้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ทำให้สุโขทัยปราศจากข้าศึกศัตรูในทุกทิศ นับได้ว่าในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นช่วงสมัยที่อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด หลังจากสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์อีก 2 พระองค์ คือ พญาเลอไทย และพญางั่วนำถม แต่อาณาจักรสุโขทัยก็เริ่มเสื่อมอำนาจลง บรรดาเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัยได้แยกตัวเป็นอิสระและเมืองประเทศราชที่มีกำลังเข้มแข็งต่างพากันแยกตัวไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัย เช่น เมืองพงสาวดี เมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น นอกจากนี้ในตอนปลายรัชสมัยพญางั่วนำถมยังเกิดจลาจลขึ้นอีก เนื่องจากมีการแย่งชิงราชสมบัติจนพญาลิไทยเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยต้องยกกำลังมาปราบ ทำให้บ้านเมืองสงบลง หลังทรงปราบจลาจลในกรุงสุโขทัยได้สำเร็จ พญาลิไทยได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงพยายามสร้างอำนาจทางการเมือง เพื่อพัฒนาบ้านเมืองให้เข้มแข็งมาใหม่ อย่างไรก็ตามอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ก็ได้ลดลงไปมากกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 1 แล้ว มีพระมหากษัตริย์ขึ้นครองราชย์สืบต่อมาอีก 3 พระองค์ คือ พระมหาธรรมราชาที่ 2 พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไทย) และพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจ กรุงสุโขทัย มีกษัตริย์ปกครอง 9 พระองค์ ดังนี้ 1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ 2. พ่อขุนบานเมือง 3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช 4. พญาเลอไทย 5. พญางั่วนำถม 6. สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) 7. สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 2 8. สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไทย) 9. สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)

การก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย

การก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย เมื่ออาณาจักรขอมเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในพุทธศตวรรษที่ 17 นั้น อิทธิพลของขอมแผ่ขยายครอบคลุมดินแดนสุวรรณภูมิ อารยธรรมหรือวัฒนธรรมของขอมจึงแทรกซึมไปในหมู่ประชากรของบริเวณนี้อย่างทั่วถึงและผสมคลุกเคล้าเป็นวัฒนธรรมสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นอาณาจักรขอมเสื่อมลงในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 กลุ่มคนไทยหรืออาณาจักรต่างๆ ของคนไทยที่เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอมจึงต่างพยายามตั้งตนเป็นอิสระ การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย ก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย มีเจ้าเมืองปกครองมีพระนามว่า พ่อขุนศรีนาวนำถม เมื่อสิ้นรัชกาลได้มีบุคคลปรากฏตามศิลาจารึกว่า ขอมสบาดโขลญลำพง เข้ามามีอำนาจปกครองเมืองทั้งสอง พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง กับพระสหายคือ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ซึ่งเป็นโอรสพ่อขุนศรีนาวนำถม ได้ชักชวนคนไทยผู้รักชาติบ้านเมืองทั้งหลายให้รวมตัวผนึกกำลังชิงเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยจากขอมสบาดโขลญลำพง ประกาศสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชอาณาจักรอิสระ ประกอบพระราชพิธีอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ปกครองสุโขทัย ทรงพระนามว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” ใน พ.ศ. 1792 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้ทรงปกครองอาณาจักรสุโขทัย เป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์พระร่วงโดยมีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ด้วยความเป็นพระสหายของพ่อขุนทั้งสองและเครือญาติสนิทางการสมรส คือ พระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั้นมีเชื้อพระวงศ์เป็นพระขนิษฐาของพ่อขุนผาเมือง มีพระนามว่า นางเสือง ซึ่งต่อมาได้มีโอรสเสวยราชสมบัติปกครองอาณาจักรสุโขทัยให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาถึง 2 พระองค์ คือ พ่อขุนบานเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความสำพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยอยุธยา

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยานอกจากจะมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงแล้วกรุงศรีอยุธยายังมีความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียหลายประเทศโดยมีประเทศสำคัญได้แก่ 1. จีน ประเทศไทยกับจีนมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยทั้งด้านการฑูตและด้านการค้า ครั้งเมื่อในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระเจ้าหงหวู่หรือหงอู่ (หรือจูหยวงจาง) ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หมิงขึ้นปกครองจีนได้ทรงส่งทูตไปยังอาณาจักรต่างๆ รวมทั้งกรุงศรีอยุธยาด้วยโดยในพ.ศ.1913 ได้ทรงส่งราชทูตอัญเชิญพระบรมราชโองการมายังกรุงศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ในปีต่อมา คือพ.ศ. 1914 ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะราชฑูตไทยได้อัญเชิญพระราชสาสน์และบรรณาการไปถวาย ซึ่งนับได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ทางการฑูตครั้งแรกระหว่างกรุงศรีอยุธยากับจีน หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนเป็นไปด้วยความราบรื่นปรากฏว่าไทยได้ส่งทูตไปเมืองจีนเป็นประจำทุกปีและบางปีมากกว่าหนึ่งครั้งคือ ระหว่าง 1914 - 2054 ทางอยุธยาส่งทูตไปเมืองจีนถึง 89 ครั้งเป็นต้น การที่ไทยได้ส่งคณะฑูตบรรณาการไปจีนบ่อยครั้งนั้นผลที่ได้คือเราได้สิทธิพิเศษทางการค้ากับจีนเพราะคณะฑูตนั้นจะนำสินค้าจากอยุธยามาขายที่จีนด้วยและตอนขากลับก็จะนำสินค้าจากจีนไปขายที่อยุธยาด้วย ในการติดต่อค้าขายระหว่างอยุธยากับจีนนั้นต่างก็มีความต้องการสินค้าของกันและกันสินค้าที่ไทยต้องการจากจีน ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าแพร เครื่องกระเบื้อง เป็นต้น ส่วนสินค้าที่จีนต้องการจากไทย เช่นเครื่องเทศ รังนก ข้าวพริกไทย ต่อมาชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยามีสินค้าบางอย่างที่จีนซื้อสินค้าของชาติตะวันตกจากอยุธยาไปด้วย เช่นเครื่องแก้ว เครื่องหอม พรม เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น พ.ศ.1792-1841

การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น พ.ศ. 1792 – 1841 เมื่อขอมมีอำนาจปกครองสุโขทัยอยู่นั้น การปกครองมีลักษณะคล้ายนายปกครองบ่าว ซึ่งขัดกับลักษณะนิสัยของคนไทยที่รักความเป็นอิสรเสรี เมื่อขับไล่ขอมไปได้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดระบลบการปกครองเสียใหม่ เป็นการปกครองเสมือนหนึ่งประชาชนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว คือ พระมหากษัตริย์ปกครองประชาชนในลักษณะบิดาปกครองบุตร หรือที่มีผู้เรียกว่า เป็นการปกครองในระบบ ปิตุราชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้ 1. รูปแบบการปกครองเป็นการปกครองแบบราชาธิปไตย คือ พระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็น ผู้ใช้อำนาจอธิปไตย 2. พระมหากษัตริย์ทรงมีความสัมพันธ์กับราษฎรเสมือนบิดากับบุตร มิได้มีฐานะแตกต่างจากราษฎรมากนัก กล่าวคือ พระมหากษัตริย์เปรียบได้กับหัวหน้าครอบครัวหรือพ่อ พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยตอนต้น มักใช้พระนามว่า พ่อขุน เช่น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนผาเมือง พ่อขุนรามคำแหง เป็นต้น อันสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนว่ามีความใกล้ชิดกัน 3.ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ นอกจากพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเสมือนบิดาของราษฎรแล้ว ยังมีการจัดระบบการปกครอง ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้าน อยู่ในความดูแลของ พ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครองเรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวามเป็น เมือง มีผู้ปกครองเรียกว่า พ่อเมือง เมืองหลายเมืองรวมกันเป็น ประเทศ อยู่ในปกครองของ พ่อขุน แสดงให้เห็นว่านอกจากพ่อขุนผู้เป็นประมุขสูงสุดแล้ว ยังมีผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายจากพ่อขุน ทำหน้าที่เป็นกลไกทางการปกครองอีกด้วย 4. พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง และทรงชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ดังจะเห็นได้จากข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งกล่าวไว้ ดังนี้ “..........พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ไว้สิบสี่ข้าว จึ่งให้ชางฟันขดานหินตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับเดือนโอกแปดวัน วันเดือนเต็มเดือนบ้างแปดวัน ฝูงปู่ครู เถร มหาเถร ขึ้นนั่งเหนือขดานหินสูดธรมแก่อุบาสกฝูงท่วยจำศีล......” การที่พ่อขุนรามคำแหงทรงให้พระเถระทังหลายนำหลักธรรมทางพระพุทะศาสนามาเผยแผ่ สั่งสอนราษฎรให้เป็นผู้ประพฤติดีประพฤติชอบตามหลักธรรม ก็เพื่อจะให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาพุทธ โดยพระองค์ทรงนำทางเป็นตัวอย่าง คือ ทรงให้พระเถระเทศนาสั่งสอนที่กลางดงตาลในวันสิ้นเดือน (วันเดือนดับ) วันขึ้นแปดค่ำ (เดือนโอกแปดวัน) วันเพ็ญ (วันเดือนเต็ม) และวันแรมแปดค่ำ (เดือนบ้างแปดวัน) เป็นประจำ เป็นการนำธรรมะมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจทำให้เกิดความสามัคคีเป็นประโยชน์ต่อการปกครอง ดังศิลาจารึกที่กล่าวไว้ดังนี้ “.......คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศลี มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน.........”

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสมัยรัตนโกสินทร์

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในสมัยแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงอยู่ ในรูปแบบของเศรษฐกิจพอยังชีพ กล่าวคือยังไม่มีการแบ่งงานกันทำแต่ละครอบครัวต้อง ผลิตของที่จำเป็นทุกอย่างขึ้นมาใช้เอง ที่ดินก็ยังว่างเปล่าอยู่มาก ในขณะที่แรงงานเพื่อ ประกอบการผลิตยังมีอยู่น้อย เพราะสภาพสังคมขณะนั้นแรงงานคนส่วนใหญ่ต้องอุทิศให้ กับ การเข้าเวรรับราชการและรับใช้มูลนายเวลาที่เหลือเพียงส่วนน้อยจึงเป็นเรื่องของการ ทำมาหาเลี้ยงชีพและครอบครัว ผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งจึงเป็นไปตามความต้องการของครัว เรือนและอีกส่วนหนึ่งส่งเป็นส่วยให้กับทางราชการ การค้าภายในประเทศจึงมีน้อยเพราะ ว่าทรัพยากรมีจำกัด และความต้องการของแต่ละท้องถิ่นไม่แตกต่างกันการคมนาคมไม่ สะดวกจวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 การค้าภายในประเทศจึงเริ่มขยายตัวเพราะชาวจีนเข้า มามีบทบาททางการค้าโดยทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง นำส่งสินค้าเข้า-ออก ตามท้อง ถิ่นต่าง ๆ ในส่วนที่เป็นรายรับ - รายจ่ายของแผ่นดินนั้น กล่าวได้ว่ารายรับไม่สมดุลกับ รายจ่าย รายจ่ายส่วนใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นไปเพื่อการสร้างและบูรณะ บ้านเมือง รายจ่ายในการป้องกันประเทศการบำรุงศาสนานอกจากนี้ก็ยังมีรายจ่ายเบี้ย หวัดข้าราชการและค่าใช้จ่ายภายในราชสำนักรายจ่ายตามประเภทที่กล่าวมาข้างต้นนั้น นับว่ามีจำนวนสูง เพราะบ้านเมืองเพิ่งอยู่ในระยะก่อร่างสร้างตัวซ้ำยังมีศึกสงครามอยู่ เกือบตลอดเวลารายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเมื่อเทียบกับรายได้ของแผ่นดินซึ่งยังคงมีที่มา เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องแสวงหายรายได้ให้ เพิ่มมากขึ้น รายได้ของรัฐบาลในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จำแนกได้ดังนี้ 1. ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่เอามาเสียภาษีแทนแรงงานถ้า ไม่ต้องการชำระ เป็นเงิน ก็อาจจะทดแทนด้วยผลิตผลที่มีอยู่ในท้องที่ ๆ ไพร่ผู้นั้นอาศัยอยู่เช่นดีบุกดิน ประสิว นอกจากนี้ส่วยยังเรียกเก็บจากหัวเมืองต่าง ๆ และบรรดาประเทศราช 2. ฤชา คือ การเสียค่าธรรมเนียมที่ประชาชนจ่ายเป็นค่าตอบแทนการบริการ ของรัฐบาล รัฐบาลจะกำหนดเรียกเก็บเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น ค่าธรรมเนียมโรงศาล ค่าธรรมเนียมการออกโฉนด หรือค่าธรรมเนียมกรรมสิทธิ์ เป็นต้น 3. อากร คือ เงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการขอผูกขาดสัมปทาน เช่น การจับ ปลา การเก็บของป่าต้มกลั่นสุรา และตั้งบ่อนการพนัน เป็นต้น ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ การเรียกเก็บผลประโยชน์ที่ราษฎรทำได้จากการประกอบการต่างๆเช่น ทำนาทำไร่ การ เก็บอากร ค่านา ในสมัยรัชกาลที่ 2 กำหนดให้ราษฎรเลือกส่งได้ 2 รูปแบบ คือ ส่งเป็น ผลิตผลหรือตัวเงิน เช่น ถ้าส่งเป็นเงินให้ส่งไร่ละหนึ่งสลึง อากรประเภทอื่นยังมีอีก เช่น อากรสวน อากรตลาด เป็นต้น 4. ภาษีอากรและจังกอบภาษีอากรหมายถึงการเก็บภาษีจากสินค้าเข้าและสินค้า ออก ภาษีเข้ามีอัตราการเก็บที่ไม่แน่นอนประเทศใดที่มีสัมพันธไมตรีดีต่อไทยก็จะเก็บ ภาษีน้อยกว่าเรือของประเทศที่ไปมาค้าขายเป็นครั้งคราวหาก แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 อัตราที่กำหนดให้เก็บคือร้อยละ8โดยตลอดส่วนชาวจีนนั้นให้คิดอัตราร้อยละ 4 ส่วน ภาษีสินค้าออกเก็บในอัตราที่แตกต่างไปตามชนิดของสินค้า จังกอบ คือค่าผ่านด่านซึ่งเรียกเก็บจากสินค้าและขนาดของพาหนะที่บรรทุก ด่านที่เก็บจังกอบเรียกว่าขนอนหรือด่านภาษีการเก็บจังกอบมี 2 ประเภทคือประเภท แรกเป็นการเก็บค่าผ่านด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำ เรียกเก็บจากสินค้าค้าของ ราษฏรโดยชักสินค้านั้นเป็นส่วนลดอีกประเภทหนึ่งคือ เก็บตามอัตราขนาดของยาน พาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน โดยจะวัดตามความกว้างของปากเรือ เรียกว่า"ค่าปากเรือ" ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้แม้เศรษฐกิจหลักของสังคมจะเป็นไปแบบเดิมคือ การ เกษตรกรรม โดยอาศัยธรรมชาติ แต่ทางราชการก็พยายามสนับสนุนช่วยเหลือใน การชลประทานการค้ากับต่างประเทศก็ดำเนินเป็นล่ำเป็นสันขึ้นกว่าในสมัยก่อน เพราะไทยมีสินค้าออกคือ ผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศ ทางตะวันตก

การปกครองสมัยธนบุรี

การปกครองสมัยธนบุรี สังคมและวัฒนธรรมสมัยธนบุรี 1. สภาพสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ถือได้ว่ามีการควบคุมกันอย่างเข้มงวดเพราะบ้านเมืองตกอยู่ในสภาวะสงคราม ต้องสู้รบกับพม่าข้าศึกอยู่ตลอดเวลานอกจากนี้ยังมีการเกณฑ์พลเรือนเข้ารับราชการทั้งนี้เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงและหลบหนีการเกณฑ์แรงาน 2. การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม รัชสมัยของพระเจ้าตากแม้จะไม่ยาวนานนักแต่ก็ยังได้ฟื้นฟูปรับปรุงบ้านเมืองในด้านวัฒนธรรมอันมากที่สำคัญมีดังนี้ 2.1 ด้านศาสนา พระเจ้าตากทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนาอย่างมั่นคงทรงให้มีการชำระความบริสุทธิ์ของสงฆ์ทั้งหมดรูปใดที่ประพฤติไม่ดีให้ศึกออกไปพระองค์ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างอุโบสถ และทรงคัดลอกพระไตรปิฎกที่นำมาจากวัดพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อปี 2312 2.2 ด้านศิลปวัฒนธรรม พระเจ้าตากทรงมีภารกิจมากมายโดยเฉพาะการสร้างบ้านเมืองการป้องกันประเทศ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ จึงทำให้ผลงานในด้านนี้จึงไม่เด่นชัด สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ บรรดาช่างฝีมือและช่างศิลป์ถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นจำนวนมาก ช่างที่มีอยู่ก็เป็นช่างฝึกหัดไม่อาจเทียบเท่าช่างในอยุธยาได้ ผลงานที่มีคือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวรราม) และด้านก่อสร้างได้แก่ การสร้างพระราชวังป้อมปราการ เชิงเทิน ขาดความสวยงาม ส่วนทางด้าน วรรณกรรมมีผลงานสำคัญคือ รามเกียรติ์ เป็นต้น 2.3 ด้านนาฏศิลป์ มีการฟื้นฟูและเล่นฉลองในงานพิธีสำคัญตามแบบประเพณีสมัยอยุธยาดังเห็นได้จากพิธีสมโภชพระแก้วมรกตและพระบางซึ่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อันเชิญมาจากเวียงจันทร์เพื่อประดิษฐานที่กรุงธนบุรีซึ่งในครั้นนั้นมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ใช้เวลา 7 วันมีการประชันการแสดงละคร การแสดงโขน การเล่นมโหรีพิณพาทย์ การเล่นบทดอกสร้อยสัดวาฯ 2.4 ด้านการศึกษา ในสมัยธนบุรียังคงอยู่ที่วัดเหมือนเมื่อสมัยอยุธยานั้นคือการเรียนที่วัดมีพระสอนหนังสือและยังคงใช้แบบเรียนจินดามณีซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องวิธีแต่งกาพย์กลอน ศึกษาศัพท์เขมร บาลีสันสฤตด้วยเพื่อประโยชน์ในการอ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนา นอกนั้นก็เป็นวิชาเลขซึ่งนำใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับวิชาชีพพ่อแม่มีอาชีพอะไรก็ถ่ายทอดวิชานั้นให้แก่ลูกหลาน เช่น วิชาแพทย์โบราณ วิชาช่างปั้น ช่างถม ช่างแกะสลัก ช่างปั้นปูน ช่างเหล็กฯ ส่วนเด็กหญิงถือตามประเพณีโบราณคือ การเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว และการฝึกอบรมมารยาทของกุลสตรี สมัยนั้นไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือจึงมีน้อยคนนักที่อ่านออกเขียนได้ การเมืองการปกครองและพัฒนาการด้านต่าง ๆ สมัยกรุงธนบุรี ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตาก (สิน) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระยาวชิรปราการตีฝ่าวงล้อมพม่าเดินมุ่งหน้าไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก และได้รวมผู้คนที่อยู่ในบริเวณนี้ตั้งเป็นชุมนุมโดยยึดเมืองจันทบุรีเป็นฐานทัพ ให้ต่อเรือเตรียมไว้ จนกระทั่งเมื่อสิ้นฤดูมรสุม สมเด็จพระเจ้าตา (สิน) จึงเข้าโจมตีค่ายพม่าที่ธนบุรีและค่ายโพธิ์สามต้นที่อยุธยา และสามารถยึดค่ายนี้ได้ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินสามารถยึดธนบุรี และกรุงศรีอยุธยา คืนจากพม่าได้ ทำให้พระองค์มีความชอบธรรมในการสถาปนาพระองค์เองเป็นพระมหากษัตริย์ จึงได้ทรงสถาปนาธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีในปีเดียวกัน การสถาปนาธนบุรีเป็นราชธานี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกสารของชาติได้แล้ว ปัญหาสำคัญของไทยในขณะนั้นคือ การป้องกันตนเองให้พ้นจากการโจมตีโดยพม่า และหาอาหารให้พอเลี้ยงผู้คนที่มีชีวิตรอดจากสงคราม แต่สภาพอยุธยาอยุธยาขณะนั้นไม่อาจบูรณะฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วด้วยกำลังคนเพียงเล็กน้อย อีกทั้งพม่าได้รู้ลู่ทางและจุดอ่อนของอยุธยาเป็นอย่างดีแล้ว ดังนั้นพระองค์จำเป็นที่จะต้องหาชัยภูมิที่เหมาะ ในการสถาปนาราชธานีแห่งใหม่คือ กรุงที่ได้รับพระราชทานนามว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” กรุงธนบุรีตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองบางกอกเดิมซึ่งในสมัยอยุธยา เมืองบางกอกมีฐานะเป็น “เมืองท่าหน้าด่าน” คือ เป็นที่จอดเรือสินค้า และเป็นเมืองหน้าด่านทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกษาที่ยกทัพเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยารวมทั้งตรวจตราเก็บภาษีเรือและสินค้าที่ขึ้นล่องตามลำน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง บางกอกจึงมีป้อมปราการ และ มีด่านภาษีเป็นด่านใหญ่ที่เรียกว่า ขนอนบางกอก เมืองบางกอกจึงมีชุมชนชาวต่างชาติ เช่น ชุมชนชาว จีน อินเดียมุสลิม ที่เดินทางมาติดต่อค้าขายและเป็นทางผ่านของนักเดินทาง เช่น นักการทูต พ่อค้า นักการทหาร และนักบวชที่เผยแผ่ศาสนา รวมทั้งนักเผชิญโชคที่ต้องการเดินทางไปยังอยุธยา ดังนั้นโดยพื้นฐานที่ตั้งของธนบุรีจึงอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ของปากน้ำเจ้าพระยาและเป็นเมืองที่มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจมาก่อนตลอดจนเป็นเมืองที่มีความปลอดภัย เพราะมีทั้งป้องปราการและแม่น้ำลำคลองที่ป้องกันไม่ให้ข้าศึกษาโจมตีได้โดยง่าย เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนาธนบุรีเป็นราชธานี พระองค์โปรดเกล้าให้สร้างพระราชวังเป็นที่ประทับ โดยสร้างพระราชวังชิดกับกำแพงเมืองทางใต้ มีอาณาเขตตั้งแต่ป้องวิชัยประสิทธิ์และวัดท้ายตลาดมาจนถึงวัดแจ้ง วัดทั้งสองจึงเป็นวัดในเขตพระราชฐาน สำหรับวัดแจ้งนั้นมีฐานะเป็นพระอารามหลวง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แผนภูมิแสดงการทำสงคราม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงฟื้นฟูบ้านเมืองให้มีความเป็นปึกแผ่น โดยชักชวนให้ผู้คนที่หลบหนีสงครามกระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ให้กลับมาตั้งบ้านเรืองใหม่ พร้อมทั้งฟื้นฟูระบบระเบียบในการบริหารราชการแผ่นดินตามแบบสมัยอยุธยา การปกครองหัวเมืองในสมัยธนบุรี ยศของผู้ปกครองเมือง - การปกครองหัวเมืองชั้นใน - การปกครองหัวเมืองชั้นนอก - การปกครองเมืองประเทศราช ผู้รั้งเมือง เจ้าพระยา ผู้ครองนคร พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ ในตอนต้นสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภาวะทางเศรษฐกิจของไทยอยู่ในสภาพลำบาก เนื่องจากเกิดการขาดแคลนอาหารอย่างหนักทั้งนี้เพราะราษฎรมิได้ทำนาในระหว่างการศึกสงครามแม้ว่าภายหลังจากที่พระองค์กู้เอกราชได้แล้ว การทำนาก็ยังไม่ได้ผล เพราะฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ในการขจัดปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือ ทรงรับซื้อข้าวจากพ่อค้าจากเรือสำเภา พัฒนาการด้านความสัมพันธ์กับต่างชาติ ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้นำ คนไทยร่วมแรงร่วมใจสร้างความเป็นเอกภาพให้กับบ้านเมืองอยู่นั้น คนไทยยังมีความกังวลที่จะรักษาชาติบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัย ดังนั้นความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยธนบุรี จึงมีลักษณะการทำสงครามตลอดสมัย ทั้งสงครามป้องกันอาณาจักรและขยายอาณาเขต ตลอดจนความสัมพันธ์ทางด สังคมสมัยธนบุรีคล้ายกับสังคมอยุธยา คือ โครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยกลุ่มคน คือ กลุ่มชนชั้นผู้ปกครอง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนาง กลุ่มชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ ทาส กลุ่มชนชั้นพิเศษ ได้แก่ นักบวช เช่น พระสงฆ์ และพราหมณ์