Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่บล็อกของ อาริสา จันทร์เสละ รายวิชาประวัติศาตร์ ส 22101 คุณครูผู้สอน คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม




ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2157 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
4.5 stars ( 4.5 / 9 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 523 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

ข่าว

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การล่มสลายของอาณาจักรยุธยา

การล่มสลายของอาณาจักรอยุธยา กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรของคนไทยเป็นระยะเวลายาวนาน 417 ปี (พ.ศ.1893-2310) พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา คือ พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 อาณาเขตของกรุงศรีอยุธยาแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางมากที่สุด ในรัชสมัยของพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133-2148) อาณาจักรกรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การค้าขายและการเจริญไมตรีกับต่างประเทศ ในรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.2199-2231) ความเสื่อมของอยุธยา กรุงศรีอยุธยาเสียเอกราชให้แก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราชเมื่อพ.ศ.2112 และครั้งที่ 2 ในรัชสมัย สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) เมื่อ พ.ศ.2310 สาเหตุการเสื่อมอำนาจของกรุงศรีอยุธยา * ความเสื่อมอำนาจทางการเมือง มีการแก่งแย่งชิงอำนาจใหม่ในหมู่ขุนนางข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์อยู่เนืองๆ มีการกำจัดศัตรูทางการเมือง ทำให้กำลังทหารถูกบั่นทอนความเข็มแข็งลงไปมาก * ความอ่อนแอของพระมหากษัตริย์ พระเจ้าเอกทัศน์ทรงขาดความสามารถในด้านการเป็นผู้นำ กองทหารไม่ได้รับการฝึกฝนให้เตรียมพร้อมในการทำศึกสงคราม และมีปัญหาวินัยหย่อนยาน * การที่ไทยว่างเว้นจากสงครามมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความประมาทในการป้องกันพระราชอาณาจักร ขาดการฝึกปรือกำลังทัพและการวางแผนการยุทธที่ดี ทำให้เกิดความไร้ประสิทธิภาพในการทำสงครามป้องกันพระนคร เมื่อพม่ายกกำลังมาล้อมกรุงศรีอยุธยาก่อนจะเสียกรุงใน พ.ศ.2310 * พม่าเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ไปจากเดิม คือ ยกทัพกวาดต้อนผู้คน สะสมเสบียงอาหารลงมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือและขึ้นมาจากหัวเมืองฝ่ายใต้ ตัดขาดหัวเมืองรอบนอกมิให้ติดต่อและช่วยเหลือเขตราชธานีได้ และพร้อมที่จะรบตลอดทั้งปี โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นฤดูฝนหรือฤดูน้ำหลาก ซึ่งแผนยุทธศาสตร์นี้ต่างไปจากเดิมที่มักจะยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์และ เข้ามาทางเดียว และเมื่อถึงฤดูน้ำเหนือหลากลงมาท่วมก็ยกทัพกลับ ทำให้ไทยวางแผนการตั้งรับผิดพลาดหมด * กรุงศรีอยุธยาถูกปิดล้อมทางเศรษฐกิจโดยกองทัพพม่า ทั้งจากทางเหนือและใต้ รวมทั้งต้องทำศึกระยะยาวนานนับปี ทำให้กรุงศรีอยุธยาเกิดขาดแคลนเสบียงอาหารอันนำไปสู่ความอ่อนแอต่อกำลังทัพ และผู้คนของไทย ในขณะที่ไทยกับพม่ากำลังทำสงครามอยู่นั้น พระยาตาก เกิดความท้อใจในการรบ เพราะขาดความคล่องตัวในการตัดสินใจ และสถานการณ์รบที่อยุธยาอยู่ในวิกฤตอย่างหนัก ถ้าหนีไปตั้งหนักที่อื่นก็อาจมีโอกาสกลับมากอบกู้สถานการณ์ได้ ดังนั้นพระยาตากจึงรวบรวมกำลังพลได้ประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมของพม่าไปเส้นทางตะวันออก สาเหตุที่พระยาตากเลือกเส้นทางตะวันออก * เส้นทางดังกล่าวปลอดจากการคุกคามของพม่า ทำให้ง่ายต่อการสะสมและรวบรวมทั้งผู้คน , อาวุธและเสบียงอาหาร * สามารถค้าขายบริเวณหัวเมืองชายทะเลทั้งด้านอาหาร อาวุธ กับพ่อค้าชาวจีนได้ การทำสงครามขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา หลังจากที่พระยาตากได้ตั้งตนเป็นใหญ่ที่ระยองและจันทบุรี และสะสมเสบียงอาหาร อาวุธ ผู้คนได้มากแล้ว จึงตัดสินใจยกทัพเรือจากจันทบุรีสู่อยุธยาเพื่อกอบกู้เอกราช โดยยกกองทัพเรือเข้ามาถึงสมุทรปราการ แล้ว พระยาตากนำกำลังกองทัพเรือเข้ายึดเมืองธนบุรี เมืองหน้าด่านที่พม่าให้นายทองอิน คนไทยรักษาอยู่ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2310 ซึ่งได้รับชัยชนะโดยง่ายแล้ว พระยาตากก็ยกทัพตามโจมตีกองทัพพม่าไปจนถึงค่ายโพธิ์สามต้น ที่สุกี้พระนายกองของพม่ารักษาการณ์อยู่ และสามารถตีค่ายของพม่าแตก พร้อมทั้งขับไล่ทหารพม่าออกจากอยุธยาและยึดกรุงศรีอยุธยา คืนได้ภายในเดือนเดียวกัน รวมเวลาในการกอบกู้เอกราชเพียง 7 เดือน พระยาตากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ เมื่อขับไล่พม่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยาและกอบกู้เอกราชให้แก่คนไทยแล้ว พระยาตากได้เลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยไม่ทรงเลือกกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีหรือเมืองหลวง เหตุผลที่ไม่เลือกกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี * ความเสียหายย่อยยับจากสงคราม ยากแก่การบูรณะปฏิสังขรณ์ * มีอาณาเขตกว้างใหญ่เกินกำลังไพร่พลของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่จะรักษา * ข้าศึกรู้เส้นทางเดินทัพ รู้สภาพภูมิประเทศของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี * ทำเลที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากทะเลมากเกินไป ไม่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ความเหมาะสมของกรุงธนบุรีเป็นราชธานี * กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะกับไพร่พลในขณะนั้น * ทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเล สะดวกแก่การค้าขายกับต่างประเทศ และสามารถเคลื่อนทัพเรือกลับสู่เมืองจันทบุรีได้สะดวก เมื่อถึงคราวคับขัน * มีป้อมปราการที่มั่นคงแข็งแรง คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ และ ป้อมวิไชยเยนทร์ใช้ป้องกันข้าศึกได้ดี * ความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหาร มีดินดี น้ำอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ * ที่ตั้งทางยุทธศาสตร์เป็นเมืองหน้าด่าน ควบคุมการเดินเรือทะเลที่เข้าออกปากอ่าวไทย จึงเท่ากับช่วยควบคุมหัวเมืองเหนือใต้ให้ต้องพึ่งกรุงธนบุรี ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการซื้ออาวุธจากต่างประเทศ การสร้างความเป็นปึกแผ่นทางการเมือง ภายหลังจากสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสร้างความมั่นคง เป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศชาติ ดังนี้ 1. การสร้างขวัญและกำลังใจแก่ทหารและประชาชน * การปูนบำเหน็จแก่แม่ทัพนายกอง โดยเฉพาะสองพี่น้องผู้ที่เป็นกำลังสำคัญคือ พระราชวรินทร์ (ทองด้วง) และพระมหามนตรี(บุญมา) * การแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน โดยการซื้อข้าวสารและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มแจกจ่ายประชาชนที่อดอยากและขาดแคลน กระตุ้นให้ราษฏรที่หลบซ่อนตามป่าเขาให้กลับสู่มาตุภูมิลำเนาเดิม กำลังของบ้านเมืองจึงเพิ่มมากขึ้น 2. การฟื้นฟูบ้านเมืองให้กลับคืนสู่ปกติ * การรวบรวมกำลังคนให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน สนับสนุนให้ผู้คนที่หลบหนีภัยสงครามตามท้องที่ต่างๆ ให้มารวมกันในราชธานี เพื่อประโยชน์ในการเกณฑ์กำลังคนในยามศึกสงครามและการก่อสร้างราชธานีใหม่ * การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะการค้าทางเรือสำเภากับจีน มีพ่อค้าชาวจีนเข้ามาค้าขายในไทยมากกว่าชาติอื่นๆ นอกจากนี้ ยังทรงสนับสนุนให้ขุนนางคุมกำลังไพร่พลไปทำนารอบๆ พระนคร เพื่อเพิ่มผลผลิต * การฟื้นฟูทางสังคม มีการฟื้นฟูระบบไพร่ที่เคยมีในสมัยอยุธยาขึ้นใหม่ โดยการสักข้อมือไพร่ทุกกรมกองเรียกว่า กฏหมายสักเลก เพื่อประโยชน์ในการเกณฑ์แรงงานและการป้องกันประเทศ และป้องกันการหลบหนีของไพร่อีกด้วย 3. การปราบปรามชุมนุมคนไทย เพื่อรวบรวมอาณาจักรคนไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ภายหลังที่ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว จึงทรงดำเนินการปราบปรามชุมนุมคนไทยที่ไม่ยอมอ่อนน้อมทั้ง 4 ชุมนุมในช่วงพ.ศ.2311-2313 ดังนี้ * ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก กองทัพธนบุรียกกำลังไปปราบเป็นชุมนุมแรกแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาถูกชุมนุมพระฝางตีแตกและผนวกเข้ากับชุมนุมของตน * ชุมนุมเจ้าพิมาย กรมหมื่นเทพพิพิธผู้นำชุมนุมไม่ยอมอ่อนน้อม จึงถูกกองทัพธนบุรีปราบ เป็นผลให้ดินแดนภาคอีสานตกอยู่ภายใต้อำนาจของราชธานีตั้งแต่นั้นมา * ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เจ้านครไม่สามารถต้านทานกำลังกองทัพบกและกองทัพเรือจากกรุงธนบุรีได้ อาณาเขตของกรุงธนบุรีจึงแผ่ขยายไปถึงหัวเมืองปักษ์ใต้ * ชุมนุมเจ้าพระฝาง หัวหน้าชุมนุมเป็นพระสงฆ์ที่ทรงคุณไสยและเป็นชุมนุมสุดท้ายที่ปราบปรามสำเร็จในปี พ.ศ.2313 ทำให้ได้หัวเมืองเหนือไว้ในพระราชอาณาเขต 4. การทำสงครามต่อต้านการรุกรานของพม่า ตลอดสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีไทยต้องทำสงครามกับพม่า เพื่อป้องกันเอกราชรวมถึง 9 ครั้ง ครั้งที่สำคัญที่สุดคือ ศึกอะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318 5. การทำสงครามขยายอาณาเขต ในสมัยกรุงธนบุรี กองทัพไทยยกไปตีกรุงกัมพูชาเป็นประเทศราชใน พ.ศ.2314 และหัวเมืองล้านนาและลาว ใน พ.ศ.2317

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น