Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่บล็อกของ อาริสา จันทร์เสละ รายวิชาประวัติศาตร์ ส 22101 คุณครูผู้สอน คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม




ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2157 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
4.5 stars ( 4.5 / 9 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 523 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

ข่าว

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พัฒนาการทางการเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พัฒนาการทางการเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 1-3 (สมัยฟื้นฟูประเทศ พ.ศ.2325-2394) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2325 และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีใหม่จากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออก(ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้า พระยา)และสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานีขึ้น ณ ที่แห่งนี้ เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงย้ายราชธานี * พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้งสองด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง)และวัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง * ความไม่เหมาะสมด้านภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตกหรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้ง อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก(กรุงเทพ)เป็นแหลมพื้นดินจะงอกอยู่เรื่อยๆ * ความไม่เหมาะสมในการขยายเมืองในอนาคต พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้างขวาง สามารถขยายตัวเมืองไปทางเหนือและตะวันออกได้ * กรุงธนบุรีไม่เหมาะทางด้านทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ กล่าวคือ มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลาง เปรียบเสมือนเมืองอกแตก เมื่อใดข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำก็สามารถตีถึงใจกลางเมืองได้ง่าย เมืองหลวงใหม่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บริเวณ เมืองหลวงใหม่ เดิมเรียกว่า บางกอก หรือปัจจุบันคือกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใหม่ของไทย สร้างขึ้นโดยเลียนแบบอยุธยา กำหนดพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนคือ * บริเวณพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า วัดในพระบรมมหาราชวัง(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)และรวมทั้งทุ่งพระสุเมรุท้องสนามหลวง * บริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง อาณาเขตกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการสร้างขึ้นตามแนวคลองรอบกรุง ได้แก่ คลองบางลำภู และคลองโอ่งอ่าง * บริเวณที่อยู่อาศัยภายนอกกำแพงเมือง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีบ้านเรือนราษฏรตั้งอยู่ด้านนอกของคลองรอบกรุง มีคลองขุดในรัชกาลที่ 1คือ คลองมหานาค การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้ * การปกครองส่วนกลาง มีเสนาบดีทำหน้าที่บริหารราชการ ได้แก่ o สมุหกลาโหม มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ทั้งทหารและพลเรือน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง o สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการทหารและพลเรือนเทียบเท่ากระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยาจักรี หรือเจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง o เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองลงมา ประกอบด้วย –กรมเวียง หรือกรมเมือง เสนาบดี คือ พระยายมราช มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร –กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ -กรมคลังหรือกรมท่า เสนาบดี คือ พระยาราชภักดี, พระยาศรีพิพัฒน์ หรือพระยาพระคลังมีหน้าที่ด้านการเงิน การคลัง และการต่างประเทศ -กรมนา เสนาบดี คือ พระยาพลเทพ มีหน้าที่ดูแลไร่นาหลวง และเก็บภาษีข้าว * การปกครองส่วนภูมิภาค หรือการปกครองหัวเมือง o หัวเมืองฝ่ายเหนือ (รวมทั้งหัวเมืองอีสาน)อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายเหนือแบ่งฐานะตามระดับความสำคัญ ดังนี้ -หัวเมืองชั้นใน(หัวเมืองจัตวา) อยู่ไม่ห่างไกลจากราชธานี มีเจ้าเมือง หรือ “ผู้รั้ง”เป็นผู้ปกครอง -หัวเมืองชั้นนอก(เมืองชั้นตรี โท เอก) มีขุนนางชั้นสูงหรือพระบรมวงศานุวงศ์เป็นผู้ปกครอง ได้แก่ เมืองพิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร ฯลฯ o หัวเมืองฝ่ายใต้ อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม นับตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไปจนถึงนครศรีธรรมราช ไชยา พังงา ถลาง และสงขลา เป็นต้น มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกทั้งสิ้น o หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย เป็นหัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฯลฯ อยู่ในความรับผิดชอบของพระคลังหรือกรมท่า * การปกครองประเทศราช o ฐานะของประเทศราช คือ เมืองของชนต่างชาติต่างภาษา มีกษัตริย์ของตนเองเป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนดและส่งทหารมาช่วยเมื่อเมืองหลวงมีศึกสงคราม o ประเทศราชของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีทั้งดินแดนล้านนา ลาว เขมรและหัวเมืองมลายู ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงแสน หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ เขมร ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ฯลฯ การปรับปรุงกฏหมายและการศาล * กฏหมายตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้รวบรวมและชำระกฏหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และคัดลอกไว้ 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และตราบัวแก้ว จึงเรียกว่ากฏหมายตราสามดวง * กฏหมายตราสามดวง หรือประมวลกฏหมายรัชกาลที่ 1 ใช้เป็นหลักปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการปฏิรูปกฏหมายไทยและการศาลให้เป็นระบบสากล การเมืองการปกครองยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก การรับอารยธรรมตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 4 ทรงมีโอกาสได้ศึกษาความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ของประเทศตะวันตก ตั้งแต่ในครั้งที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ โดยเฉพาะการศึกษา ภาษาละติน และภาษาอังกฤษ อีกทั้งมีโอกาสได้คุ้นเคยกับพ่อค้าชาวตะวันตก จึงทำให้ทรงทราบสถานการณ์ของโลกในขณะนั้นเป็นอย่างดี แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เกี่ยวกับสถานการณ์ของโลกในขณะนั้น สรุปได้ 2 ประการ คือ ความเจริญก้าวหน้าในความรู้และวิทยาการของโลกตะวันตก เป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับบ้านเมือง จึงสมควรที่คนไทยจะได้เรียนรู้ไว้ การเผชิญหน้ากับภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ประเทศมหาอำนาจตะวันตกกำลังแผ่ขยายอิทธิพลเข้ารุกรานในอินเดีย จีน และพม่าสมควรที่ไทยต้องเร่งรีบปรับปรุงประเทศให้เข้มแข็งและเจริญก้าวหน้า เพื่อป้องกันมิให้ถูกบีบบังคับหรือข่มเหงเหมือนประเทศอื่นๆ นโยบายของไทยที่มีต่อลัทธิจักรวรรดินิยม ลัทธิจักรวรรดินิยม คือ การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก มักจะเริ่มต้นด้วยการติดต่อเข้ามาค้าขายก่อน ต่อมาจึงอ้างความไม่เป็นธรรมที่ได้รับ หรือความล้าหลังด้อยพัฒนาความเจริญของประเทศนั้นๆ และใช้กำลังเข้าควบคุมหรือยึดครองเป็นอาณานิคมในที่สุด การใช้กำลังเข้าต่อสู้มีแต่จะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากยิ่งขึ้น ดังนั้น รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 จึงทรงใช้พระบรมราโชบายเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติ ดังนี้ * การผ่อนหนักเป็นเบา หมายถึง การโอนอ่อนผ่อนตามให้ชาติมหาอำนาจเป็นบางเรื่อง คือการยอมทำสัญญาเสียเปรียบ จะเห็นได้จากการทำสนธิสัญญาเบาริง ระหว่างไทยกับอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่มาก * การยอมเสียดินแดน สมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ไทยเสียดินแดนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส ตามนโยบายเสียส่วนน้อย เพื่อรักษาส่วนใหญ่ * การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย เพือมิให้มหาอำนาจตะวันตกใช้เงื่อนไขความล้าหลังด้อยพัฒนาของไทย เป็นข้ออ้างใช้กำลังเข้ายึดเป็นเมืองขึ้น และนำความเจริญมาสู่ชาวพื้นเมืองอาณานิคม เหมือนดังที่ทำกับทวีปแอฟริกา การปฏิรูปความเจริญของบ้านเมืองครั้งสำคัญเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งด้านการปกครอง กฏหมาย การทหาร ฯลฯ * การเจริญไมตรีกับประเทศมหาอำนาจยุโรป รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจตะวันตก ช่วยถ่วงดุลอำนาจมิให้ชาติใดชาติหนึ่งมาข่มเหงบีบคั้นไทย จึงเป็นวิธีการรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติอีกทางหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น